พี่เลี้ยงผู้นำ – คู่มือปฏิบัติ – บทนำ

เกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย

บทนำ

Leadership Mentor – Practical Workbook
พี่เลี้ยงผู้นำ – คู่มือปฎิบัติ

เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความเกี่ยวกับผู้นำจำนวน 96 บทความ
จัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้คนที่เป็นผู้นำ
ใช้เป็นแนวทางปฎิบัติแบบเป็นรูปธรรม
ในการบริหารผลงานของทีมงาน

จุดเด่นของบทความชุดนี้คือ “3-ง่าย”
คือ ดูง่าย เข้าใจง่าย ทำง่าย

โดยมีสามส่วนคือ

ก. Leadership Framework คือบทบาทในภาพใหญ่ของผู้นำ
ข. Leadership Guiding Principles คือกรอบความคิดสำหรับผู้นำ
ค. Leadership Duties คือหน้าที่ของผู้นำที่ใช้ในการบริหารทีมในแต่ละวัน

คนที่น่าจะได้ประโยชน์คือ
กลุ่มแรก คือ คนทำงานฐานความรู้ (Knowledge Workers)
ในองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization – HPO)

กลุ่มที่สอง คือ Knowledge Workers ที่สนใจจะพัฒนาองค์กรไปสู่ HPO

กลุ่มที่สาม คือ Knowledge Workers ที่เตรียมตัวจะไปทำงานใน HPO
ในกรณีที่องค์กรปัจจุบันอาจจะยังไม่พร้อมจะเป็น HPO

กลุ่มที่สี่ คือคนทำงานที่ต้องการพัฒนาตนเองและทีมงาน

แต่ละกลุ่มอาจจะนำไปใช้ได้มากน้อยตามบริบทขององค์กรแต่ละแห่งครับ
ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้ดุลพินิจเลือกนำไปใช้ตามความเหมาะสมครับ

ภาพรวมของเนื้อหา

ภาคที่ 1 Leadership Framework คือบทบาทในภาพใหญ่ของผู้นำ

ในส่วนแรกเรื่อง ภาวะผู้นำ จะแสดงให้เห็นบทบาทภาวะผู้นำสี่บทบาทหลัก
และทักษะที่ผู้นำใช้ในแต่ละบทบาท
รวมถึงแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นะในเบื้องต้น

คนที่มีภาวะผู้นำที่ดี คือคนที่ตระหนักรู้ในตนเองดี ในส่วนนี้จึงมีการแนะนำเรื่อง
ความตระหนักรู้ในตนเอง และแนวทางในการรู้จักตัวเองให้ดีขึ้น มาเสริมด้วย

ภาคที่ 2 Leadership Guiding Principles คือกรอบความคิดสำหรับผู้นำ
เป็นชุดความคิดสำหรับผู้นำในฐานะหัวหน้างานในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง
ซึ่งอาจจะเหมาะสมกับองค์กร HPO เป็นส่วนใหญ่

ภาคที่ 3 Leadership Duties คือ หน้าที่ของผู้นำที่ใช้ในการบริหารทีมในแต่ละวัน
เป็นแนวทางการปฎิบัติ ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่เป็นหัวหน้าทีมงานที่เป็น Knowledge Workers
โดยลงรายละเอียดแบบ How To ของ 6 บทบาทหัวหน้าทีม คือ

1. ถ่ายทอดนโยบายได้ตรงเจตนารมณ์
2. สื่อสารให้ทีมเข้าใจในการเปลี่ยนแปลง
3. พาทีมไปข้างหน้าด้วยแรงบันดาลใจ
4. สร้างขวัญและกำลังใจเมื่อเผชิญอุปสรรค
5. มอบหมายและติดตามงานแบบมืออาชีพ
6. การจัดการองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาต่อยอด

สำหรับแนวคิดและหลักการเพิ่มเติม สามารถจะค้นหาได้จาก Facebook/TheCoach.co.th ครับ

คำอธิบายที่มาของบทความชุดนี้

เกิดมาจากการรวบรวมบทความที่ลงใน Facebook/TheCoach.co.th
มาจัดหมวดหมู่ให้ง่ายสำหรับคนหมู่มาก
โดยมีกัลยาณมิตรมาช่วยเรียบเรียงเนื้อหาให้ด้วยคือ

คุณชัยรัตน์ วงศ์จินดานนท์
คุณยอด ลีลาเวชบุตร
คุณธนประเสริฐ สมิทธิเนตย์
คุณดวงจันทร์ อ่าววิจิตรกุล

เนื้อหาจะดูจบเป็นตอน ๆ ไป ในแต่ละตอน
ตามหัวข้อดังนี้

ภาคที่ 1. Leadership Framework บทบาทในภาพใหญ่ของผู้นำ
1.1 Leadership Framework

1.2 พัฒนาทักษะการสังเกต

1.3 พัฒนาทักษะการถาม

1.4 พัฒนาทักษะฟัง

1.5 พัฒนาทักษะการโน้มน้าว

1.6  กลยุทธ์ที่คนเงียบ ๆ พูดไม่เก่ง ใช้โน้มน้าว

1.7 เมื่อพูดไม่เก่ง ก็ต้องเขียนให้เก่ง

1.8 การโน้มน้าวด้วยการนำเสนอ

1.9 พูดให้เข้าใจง่าย ในเวลาอันสั้น

1.10 ความตระหนักรู้ในตัวเอง

1.11 เรียนรู้ ที่จะรู้จักตัวเอง ให้มากขึ้น

1.12 ระดับอัตตาที่เหมาะสม

1.13 เรียนรู้และปรับตัวได้เร็ว

1.14 ประยุกต์ 70/20/10 กับ Presentation Skills

ภาคที่ 2. Leadership Guiding Principles กรอบความคิดสำหรับผู้นำ
2.1 ตำแหน่ง บทบาท และการจัดสรรเวลา

2.2 การวางแผน

2.3 การบริหารความคาดหวังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

2.4 เป็นหัวหน้าครั้งแรกและไม่เคยเตรียมตัวมาก่อน

2.5 ประเมินสถานการณ์สำหรับหัวหน้าคนใหม่

2.6 ความท้าทายของคนเก่งเมื่อเป็นหัวหน้าครั้งแรก

2.7 ทำไมหัวหน้าต้องฟังลูกน้องมากขึ้น

2.8 แหล่งที่มาของอำนาจ

2.9 หัวหน้างาน 3 ประเภท

2.10 ผู้จัดการ มีหน้าที่บริหารผลงานผ่านลูกทีม

2.11 หน้าที่ของหัวหน้าคือทำงานสำเร็จผ่านคนอื่น

2.12 จัดสรรเวลาให้เข้าใจคน เพื่อผลงานที่ดี

ภาคที่ 3. บทบาทหน้าที่หลักของผู้บริหารที่มีต่อทีมงาน
3.1 ถ่ายทอดนโยบายได้ตรงเจตนารมณ์
3.1.1 บริหารงานแบบมีวิสัยทัศน์

3.2 สื่อสารให้ทีมเข้าใจในการเปลี่ยนแปลง
3.2.1 การมีส่วนร่วม หรือ เผด็จการทางความคิด
3.2.2 หัวหน้าทำอย่างไรเมื่อพูดแล้วลูกทีมไม่ทำตาม
3.2.3 เดี๋ยวนี้หัวหน้าเปลี่ยนบ่อยมาก
3.2.4 บริหารการเปลี่ยนแปลง สำหรับคนผลงานต่ำ
3.2.5 ความเห็นประโยคเดียวอาจสร้างงานมากมาย
3.2.6 พี่ ๆ น้อง ๆ อย่างตรงไปตรงมามากขึ้น
3.2.7 ผู้บริหารระดับกลางหัวใจสำคัญขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง
3.2.8 Job Rotation
3.2.9 เทคนิคการนำการประชุมผู้บริหาร


3.3 พาทีมไปข้างหน้าด้วยแรงบันดาลใจ
3.3.1 Check-In
3.3.2 เรื่องที่หัวหน้ามือใหม่มักพลาด
3.3.3 สาเหตุที่ลูกน้องไม่กล้านำปัญหามาหารือหัวหน้า
3.3.4 พัฒนาจุดแข็งของลูกน้อง ให้เก่งขึ้น
3.3.5 แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาส่วนบุคคล
3.3.6 พูดคุยเรื่องความก้าวหน้าของอาชีพเป็นระยะ
3.3.7 หัวหน้าจะบริหารคนรุ่นใหม่อย่างไรดี
3.3.8 หัวหน้าอาจเป็นสาเหตุทำให้ผลงานทีมไม่ดี
3.3.9 วิธีสร้างความเมตตาของหัวหน้า
3.3.10 สร้างแรงบันดาลใจในเป้าหมายเพื่อผลงาน
3.3.11 ควบคุมสั่งการ หรือ มีส่วนร่วมสร้างแรงบันดาลใจ แบบไหนดีกว่า
3.3.12 ปลดปล่อยศักยภาพทีมงาน
3.3.13 การบริหารคนเก่ง
3.3.14 หัวหน้าใหม่เร่งสร้าง Trust ผ่าน Care
3.3.15 เลิกทำ Exit Interview แล้วมาทำ Stay Interview กันดีกว่า
3.3.16 แต่ละคนปรารถนาจะให้เราปฎิบัติกับเขาอย่างไร
3.3.17 หัวหน้ารุ่นใหญ่อาจจะต้องปรับวิธีสอนคนรุ่นใหม่
3.3.18 สร้างความผูกพันของ Knowledge Workers แบบง่าย ๆ
3.3.19 ผู้จัดการบริหารผลงานของทีมตามความถนัดของแต่ละคน
3.3.20 แรงจูงใจในการทำงานมี 3 กลุ่ม
3.3.21 การพูดที่แสดงความรู้สึกแคร์ (Care) ของหัวหน้า
3.3.22 หัวหน้าควรเป็นแบบอย่างที่ดีอย่างไร
3.3.23 จาก “จับผิด” เป็น “จับถูก” ด้วยการสังเกตจุดแข็ง
3.3.24 การให้กำลังใจให้ถูกจริตแต่ละคน
3.3.25 ทำอย่างไรให้พนักงานกล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น
3.3.26 ความเป็นไทยกับความเป็นทีม
3.3.27 พัฒนาทีมงานให้เป็น Dream Team
3.3.28 ทีมมืออาชีพเริ่มด้วยการสร้าง บรรทัดฐานของทีม
3.3.29 ทำงานแบบ Agile Team ให้เวิร์ค
3.3.30 พัฒนาคนที่จะมาแทนเรา


3.4 สร้างขวัญและกำลังใจเมื่อเผชิญอุปสรรค
3.4.1 สาเหตุใหญ่ ๆ ที่ทำให้คนหมดกำลังใจในการทำงาน
3.4.2 หัวหน้าควรมีเมตตามากขึ้นช่วงวิกฤติ
3.4.3 การเป็นหัวหน้าคน คือโอกาสของการ ถูกจ้าง ให้ไปทำบุญ
3.4.4 การประชุมข้ามลำดับ Skip Level Meetings
3.4.5 Reverse Mentoring เมื่อน้องมาเป็นพี่เลี้ยง
3.4.6 ปฎิบัติกับแต่ละคน อย่างที่แต่ละคนชอบ
3.4.7 หัวหน้าอาจทำให้ทีมงานเครียดโดยไม่รู้ตัว
3.4.8 สัญญาณที่บอกว่าคนเก่งอาจจะลาออก
3.4.9 เมื่อลูกน้องเราทำงานไม่ได้ตามเป้าหมาย
3.4.10 ช่วงปลายปีจะช่วยให้ทีมมีผลงานดีขึ้นได้อย่างไร

3.5. มอบหมายและติดตามงานแบบมืออาชีพ
3.5.1 การให้ Feedback เรื่องผลงาน
3.5.2 เมื่อรับมอบหมายงานสำคัญที่ไม่เคยทำมาก่อน
3.5.3 ลดความเสี่ยงจากการรับมอบงานสำคัญ
3.5.4 มอบหมายงานไม่ดีคือความผิดของหัวหน้า
3.5.5 คุณอาจเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาผลงานในทีมงานเพียงใด
3.5.6 หัวหน้าควรบริหารคนที่รับผิดชอบสูงอย่างไร
3.5.7 คนแต่ละกลุ่มมีผลงานเป็นอย่างไร
3.5.8 Micro-Manage กับดักผู้บริหาร
3.5.9 ทำอย่างไร เมื่อลูกทีมเราทำงานพลาด
3.5.10 แง่คิดการติดตามผลงาน
3.5.11 ผู้บริหารที่เก่ง จะ Feedback ไม่เป็นทางการ
3.5.12 Coaching 4-I Model

3.6 การจัดการองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาต่อยอด
3.6.1 ถอดบทเรียนจากคนรุ่นใหญ่
3.6.2 ถอดบทเรียนของเราเพื่อเป็นวิทยาทาน

บทสรุป