3.2.8 Job Rotation

Job Rotation หรือการสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนบทบาทหน้าที่ในการทำงาน

คือการที่ Knowledge Workers สลับบทบาทหน้าที่ในการทำงานทุก ๆ ช่วงเวลา เช่น ทุก 1 หรือ 2 ปี

เป็นการพัฒนาและการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ดีมาก และสามารถทำได้เองในทุกบริษัท ไม่ว่าจะเล็ก กลาง หรือใหญ่ 

ข้อดีของมันคืออะไร

– ทำให้ Knowledge Workers ออกจาก Comfort Zone ไม่ยึดติดกับงานบทบาทใดบทบาทหนึ่ง 

– ทำให้ตื่นตัว ไม่เบื่อง่าย 

– ทำให้ Ego ไม่สูงเกินไป จากการที่คิดว่าตัวเองรู้เรื่องนี้เรื่องเดียวเพราะทำเรื่องนี้มานาน

– ลดอัตตราการลาออกของพนักงานรุ่นใหม่ 

วิธีการ

1. กำหนดเรื่องนี้เป็นเรื่องยุทธศาสตร์ เพราะทำให้คนเก่งขึ้น และองค์กรยั่งยืนเนื่องจากว่าไม่ต้องพึ่งใครคนใดคนหนึ่ง

2. สื่อสารให้พนักงานทราบ และสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาตระหนักว่า เป็นการสร้างคุณค่าให้กับพนักงานเพราะเขามีโอกาสเติบโตมากขึ้น และเสี่ยงน้อยลงเมื่อถึงเวลาที่บริษัทต้องเลือกปลดคนเพราะว่าคนที่เวียนงานบ่อยมีโอกาสมีศักยภาพรอบด้านมากกว่า ทำให้โอกาสถูกจ้างต่อสูง หรือหากถูกปลดก็หางานได้ง่ายกว่า

3. ทำให้พนักงานเข้าใจว่า การหมุนเวียนไปทำงานอื่นที่อาจจะมีโครงสร้างองค์กรที่เล็กกว่า หรือมีค่างานที่ต่ำกว่า ไม่ใช่การถูกลดขั้น (Demote) แต่เป็นการสร้างศักยภาพในเรื่องที่เรายังขาด

4. มีระบบนิเวศน์ทางธุรกิจหรือ Business Ecosystems รองรับระบบ เช่น มาตรฐานในการทำงาน ขั้นตอนการทำงาน  และคู่มือในการทำงาน ที่ทันสมัยในทุกตำแหน่ง ทำให้การเรียนรู้งานในบทบาทใหม่เร็วขึ้น

5. มีขั้นตอนการ Briefing และอบรม ให้พนักงานที่จะส่งมอบ สามารถสื่อสารให้คนที่จะมาทำงานแทนเข้าใจและทำงานได้เร็ว

6. มีระบบ Job Shadow คือการประกบคู่ในการทำงานเป็นระยะ เช่น ทุก 6 เดือน แต่ละคนควรมีการ Shadow (หรือเป็นเงาตามตัว) กับคนอื่นที่ลักษณะงานอาจมีโอกาสได้หมุนเวียนในอน