3.5.6 หัวหน้าควรบริหารคนที่รับผิดชอบสูงอย่างไร

  1. มอบหมายงานแล้ว ไม่ต้องตามงาน เชื่อใจเขาเถอะ
  2. หัวหน้าควรเข้มบริหารคนรอบตัวเขาที่ไม่รับผิดชอบ
  3. อย่าตำหนิคนไม่รับผิดชอบแบบเหมารวมในที่ประชุม
    คนรับผิดชอบสูงมองว่าไม่แฟร์ที่เขาจะต้องโดนด่าด้วย
  4. อย่ามอบหมายแต่คนที่รับผิดชอบเพียงไม่กี่คน
    เพราะว่าวันหนึ่งเขาจะไปรับผิดชอบงานในที่อื่น

เรามาดูรายละเอียดของแต่ละข้อกัน

  1. มอบหมายงานแล้ว ไม่ต้องตามงาน เชื่อใจเขาเถอะ

หัวหน้าบางคน ไม่ค่อยไว้วางใจทีมงาน
ต้องคอยติดตาม ตรวจสอบความคืบหน้า ถามเป็นระยะ กับทุก ๆ คน
แทนที่จะทำกับบางคนที่เคยมีประวัติว่า “ไม่ค่อยรับผิดชอบ” เท่านั้น
หากใครที่เขาเคยรับผิดชอบสูงมาตลอด อย่าไปเสียเวลาจ้ำจี้จ้ำไชไปกับเขาเลย
เพราะเสียเวลาเราแล้ว ยังสร้างความรำคาญให้คนรับผิดชอบสูงโดยไม่จำเป็น

สองข้อถัดไปอธิบายพร้อม ๆ กันเลยคือ…

  1. หัวหน้าควรเข้มบริหารคนรอบตัวเขาที่ไม่รับผิดชอบ
  2. อย่าตำหนิคนไม่รับผิดชอบแบบเหมารวมในที่ประชุม
    คนรับผิดชอบสูงมองว่าไม่แฟร์ที่เขาจะต้องโดนด่าด้วย

หัวหน้าบางคน ไม่ชอบเผชิญหน้ากับคนที่ไม่รับผิดชอบ
แทนที่จะ Feedback ตรง ๆ ตัวต่อตัวกับคนเกเร
กลับไปบอกในที่ประชุม แบบตีวัวกระทบคราด
ซึ่งคนที่เขารับผิดชอบสูงส่วนใหญ่คิดว่าไม่แฟร์
ที่จะต้องมาร่วมรับฟังคำตำหนิของบางคน
หัวหน้าต้องกล้าบอกคนที่เกเรตัวต่อตัว

  1. อย่ามอบหมายแต่คนที่รับผิดชอบเพียงไม่กี่คน
    เพราะว่าวันหนึ่งเขาจะไปรับผิดชอบงานในที่อื่น

การที่มีอะไรก็มอบหมายให้คนที่รับผิดชอบสูงทำเท่านั้นมันไม่ยุติธรรม
โดยเฉพาะนำงานของคนหนึ่ง ที่ไม่ค่อยรับผิดชอบ ไปให้คนอื่นที่รับผิดชอบสูง ทำบ่อย ๆ
วันหนึ่ง คนที่รับผิดชอบสูง เขาอาจจะลาออกไปที่อื่นก็ได้
หากใครที่เขาทำงานไม่ได้ เราต้องสอนให้เขาทำให้ได้
หรือไม่ก็ต้องโยกย้าย ให้เขาไปทำหน้าที่ที่เหมาะสม