3.4.9 เมื่อลูกน้องเราทำงานไม่ได้ตามเป้าหมาย

อาจเกิดมาได้จากหลายสาเหตุ
หัวหน้างานต้องวิเคราะห์ให้พบสาเหตุที่แท้จริง
แล้วจึงลงมือแก้ไขตามแต่ละสาเหตุและตามสถานการณ์

การตำหนิติเตียนลูกน้องทันที ไม่ใช่วิถีของคนทำงานยุคนี้

ที่จริงมีหลายครั้ง หัวหน้าอาจจะป็นสาเหตุของปัญหาด้วยซ้ำไป เช่น

  • เราอาจจะรีบมอบหมายจนเขาไม่เข้าใจ
  • หรือเราอาจเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาจนเขาสับสน
  • หรือเราอาจจะสื่อสารไม่ชัดเจน

ลองใช้คำถามชุดนี้วิเคราะห์ดูแล้วจึงลงมือแก้ไขครับ

เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ตามเป้าหมาย

  1. เขามีทัศนคติอย่างไรกับงานที่เขาทำ
  2. เขามีความถนัดเพียงใดกับงานที่เขาทำ
  3. เขามีความรู้มากพอเพียงใดในการทำงาน
  4. เขามีทักษะมากพอที่จะทำงานได้เพียงใด
  5. เขาเคยได้รับ Feedback ถูกจริตเพียงใด
  6. เราอาจเป็นสาเหตุของปัญหานี้ได้อย่างไร
  7. หากทัศนคติไม่ดี ก็ต้องคุยหารือกัน
    หากปรับทัศนคติไม่ได้ก็คงต้องให้ไปทำบทบาทอื่น/ที่อื่น
  8. หากทัศนคติดี แต่ไม่ถนัดจนเกิดผลกระทบจริง ๆ
    ก็ต้องหาบทบาทอื่นที่ถนัดให้เขาทำ
  9. หากทัศนคติดี มีความถนัด แต่ขาดความรู้
    ก็สอนให้เขารู้หรือแนะนำวิธีให้เขาไปเรียนรู้
  10. หากทัศนคติดี ถนัด รู้ แต่ขาดทักษะ
    หัวหน้าก็ต้องสอนทักษะแบบ On the job training ให้เขาทำงานให้ได้
  11. หากเขาเคย มีทัศนคติดี เคยถนัด เคยรู้ เคยทำได้ แต่ตอนนี้ทำไม่ได้
    เราเคยให้ feedback ที่ถูกจริตเขาหรือไม่ ถ้าไม่เคย ก็อาจจะต้องคุยกัน
  12. หากเขาเคย มีทัศนคติดี เคยถนัด เคยรู้ เคยทำได้
    และเราเคยให้ feedback ที่ถูกจริตเขามาแล้ว
    แต่ผลงานกลับไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง เราอาจจะเป็นสาเหตุของปัญหาเรื่องผลงานเขาก็ได้

เช่นเห็นเขาทำงานได้ดีเลยมอบหมายงานให้เขาจนกระทั่งเขาคิดว่า “ไม่ยุติธรรม” แล้วเขาจิตตกลงมาก (ทัศนคติ) ทำให้เกิดประสิทธิผลงานตกต่ำลงไปมาก

หรือเราอาจจะเป็นสาเหตุอื่น เช่นคิดว่าสนิทกันก็เลยเกรี้ยวกราดกับเขาไปโดยไม่รู้ตัว ฯลฯ

ลองค้นหา แล้วหาทางจัดการแก้ไขดูครับ