3.5.4 มอบหมายงานไม่ดีคือความผิดของหัวหน้า

ปัญหาในการทำงานเรื่องหนึ่งที่พบบ่อย ๆ คือ การมอบหมายงานที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรของหัวหน้า

ที่หนักไปกว่านั้นคือ หัวหน้าส่วนใหญ่ก็ไม่ตระหนักรู้ว่าตนเองเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหา

และที่หนักที่สุดคือ หัวหน้าไปโทษว่าลูกน้องรับมอบหมายงานด้อยประสิทธิภาพ

เรามาดูกันว่า การมอบหมายงานที่ดีควรทำอย่างไร

  1. เรียบเรียงความคิดก่อน แล้วค่อยสื่อสารออกไป
  2. ดูบริบทด้วยว่า คนใหม่หรือมีประสบการณ์
  3. สื่อสารไปให้ถูกจริตลูกน้องแต่ละคน
  4. บอกถึงประโยชน์ที่ลูกน้องจะได้รับ
  5. ตระหนักว่า เราพูดได้ไม่เท่าที่เราคิด
  6. ตระหนักว่า เขาฟังได้ไม่เท่าที่เราพูด

แนวทางการเรียบเรียง เช่น What, Why, How, Example
คนใหม่อาจจะต้องปูพื้นก่อน คนมีประสบการณ์อาจจะเข้าเรื่องเลย

ดูจริตว่า…เขาเป็นคนชอบภาพกว้างหรือรายละเอียด
ดูจริตว่า…เขารับรู้แบบ ภาพ/ตัวอักษร/เสียง/ลงมือทำ
ดูจริตว่า..เขาชอบถาม หรือฟังแม้จะงงก็ไม่ถาม
ดูจริตว่า…เขาแต่ละคนมีวิธีรับสารแบบไหน

ทุกครั้ง ประเมินดูว่าเขาเข้าใจเรามากน้อยเพียงใด

และหมั่นตรวจสอบความคืบหน้าในงานเป็นระยะ

อย่ามอบหมายงานแล้วไปรอเห็นตอนจบจึงรู้ว่าเขาเข้าใจผิด

คนเก่งคือคนที่มอบหมายงานแล้วคนส่วนใหญ่ไปทำได้ตามความคาดหวัง

คนที่มอบหมายงานไม่เก่งคือ
คนที่มอบหมายงานอะไรไป
แล้วคนส่วนใหญ่สับสนทำงานออกมาไม่ตรงกับความคาดหวัง

สุดท้าย…
บางคนไม่มีเวลามอบหมายงาน จึงรีบ ๆ บอกออกไปแบบไม่ชัดเจน
ผลก็คือคนเข้าใจคลาดเคลื่อน และทำงานออกมาไม่ตรงความคาดหวัง
กลายเป็นว่าต้องมาแก้งานกันใหม่ ใช้เวลามากกว่าเดิมอีกเยอะเลย

เราจึงต้องระวังว่า…
เราไม่มีเวลาในการมอบหมายงาน ให้ดีครบถ้วน ในตอนแรก
แต่เรามีเวลาเสมอ ในการแก้ไขงาน ที่เกิดจากความผิดพลาด จากการมอบหมายงาน ที่เร่งรีบในตอนแรก