3.2.2 หัวหน้าทำอย่างไรเมื่อพูดแล้วลูกทีมไม่ทำตาม

ในการทำงานของ Knowledge Workers
เป็นงานที่ต้องใช้ความคิด และดุลพินิจ
บ่อยครั้ง ความคิด และดุลพินิจ ของหัวหน้าและลูกทีม ไม่ตรงกัน

หัวหน้าที่เก่ง จะสื่อสาร โน้มน้าว ให้ลูกทีมเห็นด้วย

บ่อยครั้ง ที่ลูกทีมยังไม่เห็นด้วย

สิ่งที่หัวหน้า “ไม่ควรทำ” คืออะไร
ก. พูดเสียงดังขึ้น
ข. พูดซ้ำ ๆ วน ๆ มากขึ้น
ค. อธิบายความเชื่อตัวเองมากขึ้น
ง. ตำหนิลูกทีมว่าดื้อ / อัตตาสูง
จ. ตำหนิลูกทีมว่าไม่อยากเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่หัวหน้าควรทำคืออะไร

  1. ตระหนักว่า สิ่งที่เกิดเราเป็นสาเหตุ
  2. วิเคราะห์ว่า ไม่เชื่อใจ ไม่เข้าใจ ไม่เป็นใจ
  3. หากไม่เชื่อใจ สร้างความไว้ใจก่อน
  4. หากไม่เข้าใจ อธิบายให้ตรงจริต
  5. หากไม่เป็นใจ อธิบายตรรก
  6. ตระหนักว่า สิ่งที่เกิดเราเป็นสาเหตุ
    เป็นเรื่องที่ยากที่สุด
    เพราะว่าในหัวเรา มันเป็นเจตนาที่ดี มีตรรกที่ดีจากมุมมองของเรา
    เรามักจะไม่ท้าทายตัวเราเท่าที่ควร
    แถมเราพยายามตอกย้ำในหัวเราบ่อย ๆ จนยากจะเปลี่ยนแปลง
    วิธีการที่ช่วยได้คือ ถามกัลยาณมิตรที่กล้าเห็นต่างว่าเขาคิดว่าอย่างไร
    ที่สำคัญ เราต้องเชื่อว่า “การที่เราจะบอกเขาว่า เราคิดผิด คือความกล้าหาญ”
    เพราะเป็นการแสดงออกของระดับอัตตาท่ีเหมาะสม และการเติบโตของวุฒิภาวะ
  7. วิเคราะห์ว่า อะไรคือสาเหตุ: ไม่เชื่อใจ หรือ ไม่เข้าใจ หรือ ไม่เป็นใจ
  8. หากไม่เชื่อใจ สร้างความไว้ใจก่อน
    บ่อยครั้ง หากเรามีระดับอัตตาที่เหมาะสม และมีวุฒิภาวะสูง
    คนก็ยังไม่เห็นคล้อยตามกับเรา เพราะเขาไม่ Trust ดุลพินิจ หรือเจตนาของเรา
    เราจึงควรกลับไปทำให้เขา Trust ก่อน แทนที่จะพูดซ้ำ/เสียงดังขึ้น/ตำหนิว่าดื้อหรือต่อต้าน
  9. หากไม่เข้าใจ อธิบายให้ตรงจริต
    หากเชื่อใจแล้ว แต่คิดว่าไม่เข้าใจ
    เราอาจจะต้องปรับวิธีสื่อสารเราให้ตรงจริต เช่น
    ควรพูดสั้น ๆ ตรงประเด็น / อธิบายขั้นตอนยาวหน่อย / เล่าเรื่องอุปมาอุปไมย
    ควรพูดและผสมผสานสื่อ Social Media อื่น ๆ อย่างไรดี
    ควรให้คนที่วัยและความคิดใกล้เคียงกับเขาพูดให้จะง่ายกว่าไหม
  10. หากไม่เป็นใจ อธิบายตรรก
    สุดท้าย หาก Trust แล้ว เข้าใจแล้ว แต่ยังไม่เป็นใจ
    เขายังไม่คล้อยตาม เพราะยังสงสัยอยู่
    เราก็ควรสื่อให้เขาคล้อยตาม แล้วแต่วิธีรับตรรกของแต่ละคน
    บางคนต้องการเห็นตัวเลข / บางคนต้องการเห็นภาพกว้าง /
    บางคนต้องการเห็นสิ่งที่คนอื่นทำมาก่อน / บางคนต้องการเห็นภาพวิสัยทัศน์

หนึ่งในตัวอย่างของคนดีและเก่งที่น่าชื่นชมคือ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล

เราสามารถเรียนรู้ประสบการณ์ หลักคิด และวิธีสื่อสารเรื่องยากให้เข้าใจง่าย ของท่านได้
จาก E-Book 185 หน้าชื่อ “ถอดระหัสปรัชญา & และการทำงาน ของผู้ว่าการประสาร ไตรรัตน์วรกุล”