3.6 การจัดการองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาต่อยอด

ความรู้ในการทำงานมีอยู่ทุกวันแต่ว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้จัดการความรู้นั้น

การจัดการความรู้ ทำเมื่อเกิดความรู้ใหม่ในการทำงาน โดย

ก. ประชุม ถอดบทเรียน

ข. บันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้

ค. เผยแพร่ชุดความรู้ให้คนที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะความรู้ในงานเช่น

ก. การจัดการปัญหาที่ซับซ้อน

ข. การริเริ่มโครงการใหม่ ในลักษณะ Pilot / Sandbox

ค. การทำงานบูรณาการหลาย ๆ หน่วยงานที่ผลสัมฤทธิ์ออกมาเกินความคาดหวังมาก

ง. โครงการที่ได้รับการยกย่อง ชมเชย

เครื่องมือ AAR หรือ After-Action Review คือการทบทวนผลของการปฎิบัติการหลังจากจบงานทันที

AAR เป็นกระบวนการที่กองทัพอเมริกันใช้ทุกครั้งหลังการฝึก/การรบ เพื่อประเมินผลสิ่งที่ทำเทียบกับแผนงาน และเพื่อยกระดับผลงานให้ดีขึ้น

ต่อมา ในเรื่อง การจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management ก็มีการนำ AAR มาประยุกต์ใช้หลังการทำงานเพื่อเป็นการ Sharing Knowledge ในองค์กร

ในวงการบันเทิงขั้นเทพเขาก็ใช้กัน

เราลองมาดูตัวอย่างการประยุกต์ใช้ AAR ของ บียองเซ่ (Beyoncé) นักร้อง/นักแสดงชื่อดังของอเมริกาดู 

จากยูทูป How to get better at the things you care about โดย Eduardo Briceño เขาเล่าว่า 

“ทุกคืนหลังการแสดงคอนเสิร์ตของบียองเซ่ เธอจะกลับไปที่ห้องเพื่อดูบันทึกการแสดงของเธอที่เพิ่งจบลงและดูว่าจะทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างไรสำหรับเธอ ทีมงาน และตากล้อง 

ในวันรุ่งขึ้นทุกคนจะได้รับโน้ตหนึ่งหน้าเพื่อการพัฒนา  แล้วทุกคนจะปรับปรุงการแสดงในวันต่อมาให้ดียิ่งขึ้น

ซึ่งหมายความว่าเธอต้องใช้เวลาอย่างน้อยเท่ากับการแสดงคอนเสิร์ตของเธอบวกอีกไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมงในการสรุปและอีกครึ่งชั่วโมงในการประชุม สมมติว่าเธอเล่นเฉลี่ยสองชั่วโมง หมายความว่าเธอใช้เวลาอีกสามชั่วโมงในแต่ละครั้งที่แสดงเพื่อประเมินตนเอง และคิดว่าไม่ต่ำกว่าเป็นเดือนในการซ้อมล่วงหน้า 

แนวทางคำถาม AAR

1. สิ่งที่เราทำได้ดีคืออะไร

2. จะยกระดับสิ่งที่ดีไปยอดเยี่ยมอย่างไร

3. สิ่งที่ควรทำให้น้อยลงคืออะไร

4. สิ่งที่ควรทำเพิ่มขึ้นคืออะไร

5. สิ่งที่ควรเริ่มทำคืออะไร

ใช้แนวคำถามชุดนี้ทุกครั้งหลังจบงานทันที แล้วนำคำตอบไปใช้ในการวางแผนงานครั้งต่อไป

ดังนั้น ประสบการณ์ทุกครั้งของคุณจะช่วยพัฒนาและยกระดับผลงานของคุณในครั้งต่อไปเสมอ