การจัดการความขัดแย้งมีหลายวิธี

บทความโดย: โค้ชเกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย
ภาพ: Alexander Suhorucov


เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น คนส่วนใหญ่จะเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งที่ตนถนัด

แต่ว่า The Thomas-Kilmann model ซึ่งออกแบบโดยนักจิตวิทยาสองคนคือ Kenneth Thomas and Ralph Kilmann เสนอว่า เรามีทางเลือกถึงห้าวิธีในการจัดการความขัดแย้ง

แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อจำกัด

ผู้นำที่มีความสามารถในการจัดการ จะเลือกใช้วิธีที่เหมาะกับแต่ละสถานการณ์

ทั้งห้าวิธีคือ

1. Avoiding หลีกเลี่ยง

2. Accommodating ยอมโอนอ่อน

3. Compromising ประนีประนอม

4. Competing เอาชนะ

5. Collaborating ร่วมแรงร่วมใจ

เราลองมาดูตัวอย่างของแต่ละวิธีกัน

สมมิตว่า ทุกวันอาทิตย์คุณแดนจะพาญาดาภรรยาและเจนลูกสาวไปรับประทานอาหารกลางวันนอกบ้านเสมอ

บ้านเขาอยู่ที่ถนนสาธร อาทิตย์นี้เขาทั้งสามคนกำลังปรึกษากันว่าจะไปทานอาหารกลางวันที่ไหนดี

เจนลูกสาวต้องการไปสยาม แดนต้องการไปไอคอนสยาม ขณะที่ญาดาภรรยาต้องการไปเซ็นทรัลพระรามสาม

จึงเกิดความขัดแย้งขึ้น

หากแดนเลือกวิธีจัดการกับ Conflict ที่เกิดขึ้นโดย

1. Avoiding หรือหลีกเลี่ยง เขาจะบอกว่าเรามาจับสลากละกันแล้วแต่ดวง

2. Accommodating หรือยอมโอนอ่อนเขาอาจจะบอกกับญาดาให้ยอมลูกสาว

3. Compromising หรือประนีประนอม เขาจะบอกกับญาดาว่าอาทิตย์นี้ไปสยาม และไปเซ็นทรัลพระรามสาม อาทิตย์หน้า

4. Competing หรือเอาชนะ เขาจะบอกกับญาดาและเจนว่าพ่อออกเงินไปไอคอนสยามละกัน
5. Collaborating หรือร่วมแรงร่วมใจเขาจะบอกว่าถ้าอย่างนั้นให้แต่ละคนยกเหตุและผลพร้อมทั้งฟังข้อดีข้อเสีย โดยที่ทุกคนจะหาข้อยุติร่วมกันอย่างเป็นเอกฉันท์

คนส่วนใหญ่มักจะใช้เพียงหนึ่งหรือสองวิธีที่ตนเองถนัด แต่ว่าผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะเลือกใช้ตามสถานการณ์ ไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบใดเพียงแบบเดียว