การมอบหมายงาน (Delegation)

การมอบหมายงาน เป็นทักษะสำคัญของหัวหน้า

และเป็นความรับผิดชอบของหัวหน้างาน ที่คนส่วนใหญ่มักไม่เข้าใจ

เนื่องจากหัวหน้ามีบทบาทในการบริหารผลงานของทีม

จึงมีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานผ่านคนอื่นด้วยการมอบหมายงาน

เรามาดูกันว่า…

1. การมอบหมายงาน คืออะไร

2. การมอบหมายงาน มีประโยชน์อย่างไร

3. คนส่วนใหญ่มอบหมายงานได้ไม่ดีเพราะอะไร

4. ประสบการณ์ในการทำงานอะไรบ้างที่ทำให้เราพัฒนาการมอบหมายงานได้เก่ง

5. ในการพัฒนาการมอบหมายงานมีวิธีใดบ้าง

6. ตัวอย่างการมอบหมายงานเมื่อหัวหน้ามอบหมายให้ทำรายงานที่ยาก

เรามาขยายความในแต่ละข้อดังนี้ครับ

1. การมอบหมายงาน คืออะไร

การมอบหมายงาน หมายถึง กระบวนการมอบหมายงานหรือโครงการชิ้นใดชิ้นหนึ่งให้บุคคลอื่นรับผิดชอบดำเนินการ โดยผู้มอบหมายงานจะยังคงติดตามผลและให้คำปรึกษาแก่ผู้รับมอบหมายงาน

2. การมอบหมายงาน มีประโยชน์อย่างไร

– ช่วยให้ผู้มอบหมายงานมีเวลาว่างมากขึ้นเพื่อโฟกัสกับงานสำคัญอื่น ๆ

– พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ การสื่อสาร และความไว้วางใจ

– เสริมสร้างการทำงานเป็นทีม และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

– ช่วยให้พนักงานมีโอกาสเรียนรู้ พัฒนา และรับผิดชอบงานมากขึ้น

3. คนส่วนใหญ่มอบหมายงานได้ไม่ดีเพราะอะไร

– กลัวเสียการควบคุม

– ไม่ไว้ใจผู้อื่น

– กลัวว่าผู้อื่นจะทำงานได้ไม่ดี

– อธิบายรายละเอียดงานไม่ชัดเจน

– ไม่ติดตามผลงาน

– เกรงใจ

– คิดว่าเป็นการปัดความรับผิดชอบ

– เมื่อมอบหมายงานแล้วคนปฎิเสธ ก็ไปไม่ถูก

4. ประสบการณ์ในการทำงานอะไรบ้างที่ทำให้เราพัฒนาการมอบหมายงานได้เก่ง

– การเป็นหัวหน้างาน

– การทำงานเป็นทีม

– การมี mentor

– การได้รับการอบรมเกี่ยวกับการมอบหมายงาน

– การลองมอบหมายงานง่าย ๆ ให้เพื่อนร่วมงานที่พอสนิทด้วยทำ

5. ในการพัฒนาการมอบหมายงานมีวิธีใดบ้าง

– ตระหนักว่าเมื่อเป็นหัวหน้า การทำงานผ่านคนอื่นด้วยการมอบหมายงานเป็นเรื่องปกติ

– ฝึกฝนการอธิบายรายละเอียดงานให้ชัดเจน

– เรียนรู้ที่จะไว้ใจผู้อื่น

– กำหนดเป้าหมายและ deadline ที่ชัดเจน

– ติดตามผลงานอย่างสม่ำเสมอ

– ให้ feedback ที่สร้างสรรค์

6. ตัวอย่างการมอบหมายงานเมื่อหัวหน้ามอบหมายให้ทำรายงานที่ยาก

หัวหน้า:

– อธิบายรายละเอียดของงานให้เหมาะจริตแต่ละคน

– กำหนดเป้าหมายและ deadline ที่ชัดเจน

– อธิบายความสำคัญของงานให้สอดคล้องแรงจูงใจแต่ละคน

– ถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากพนักงาน

– มอบหมายงานให้พนักงานตามจุดแข็งถ้าเป็นไปได้

– ให้ความไว้วางใจและสนับสนุนหากเป็นเรื่องใหม่ หรือเรื่องที่เขาไม่ถนัด

– ติดตามผลงานอย่างสม่ำเสมอ

– ให้ feedback ที่สร้างสรรค์

พนักงาน:

– ถามคำถามเพื่อความเข้าใจ

– แจ้งความคืบหน้าของงาน เป็นระยะ ตามจริตหัวหน้า

– ขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น

– ส่งมอบงานก่อนเวลาพอสมควร เผื่อการปรับแต่งจากหัวหน้า

ผลลัพธ์:

– รายงานที่เสร็จสมบูรณ์ตามเป้าหมาย

– พนักงานพัฒนาทักษะการทำงาน

– ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหัวหน้าและพนักงาน

– After Action Review สิ่งที่ดี สิ่งที่พลาด สิ่งที่ควรเพิ่ม

แหล่งข้อมูล:

http://hrcenter.co.th/file/columns/hr_f_20170510_172037.pdf

https://th.hrnote.asia/personnel-management/how-to-lead-and-management-01202022/

https://www.bsigroup.com/globalassets/localfiles/en-th/webinars/webinar-15-.pdf