พูดให้เก่ง ทันการเปลี่ยนแปลง

ในอดีต เราจะพบคนที่ “พูดไม่เก่ง” มากมาย เช่น

1. บางคน ใช้คำพูดมาก แต่ไม่ได้สาระมาก

2. บางคน ใช้คำพูดน้อย และได้สาระน้อย

3. บางคน ความคิดไม่ชัดเจน จึงพูดสับสน

4. บางคน คิดยังไม่ทันจบก็รีบพูดแบบไม่รู้เรื่องออกมา

5. บางคน พูดไปคิดไป

ฯลฯ

แต่ว่าในอดีต บริษัทส่วนใหญ่มีผลประกอบการดี

มีทรัพยากรมากพอสมควร

การสื่อสารแบบ “พูดไม่เก่ง” ก็ยังพอรับได้

แม้ว่าจะยังมีความสูญเสียจากการสื่อสารที่คลาดเคลื่อนอยู่บ้างก็ตาม

หลายคนก็เคยตระหนัก แต่ก็ไม่ได้ทำอะไรมากนัก

เมื่อมาถึงยุคที่ทุกอย่างฝืดเคือง

เราไม่มีทรัพยากรที่มากพอจะให้ฟุ่มเฟือยอีกต่อไป

แต่ที่น่าคิดก็คือ “เรายังเห็นคนพูดไม่เก่ง” ลอยนวลอยู่

พวกเขาสร้างความสับสนและคลาดเคลื่อนจากการสื่อสาร

วันแล้ววันเล่า

ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราอาจจะต้องกลับมาทบทวนเรื่อง “การพูดให้เก่ง” ครับ

นิยามของคำว่า “การพูดเก่ง” คืออะไร

คือ การที่คนพูดแล้วทำให้คนฟัง เข้าใจตรงตามเจตนาที่ต้องการ ในเวลาอันสั้น

สิ่งที่ควรทำก่อนพูด คือ…

ก. มีความคิดที่ชัดเจน

ข. เข้าใจคนฟัง

ค. เลือกพูด

สิ่งที่ควรทำระหว่างพูดคือ…

ก. สังเกตปฎิกิริยาผู้ฟัง

ข. ปรับคำพูดตามปฎิกิริยา

ค. เปิดโอกาสให้ถาม และตอบให้ตรง

สิ่งที่ควรทำหลังการพูดคือ…

ก. ประเมิน เจตนา และผลลัพธ์

ข. รู้ว่าทำอะไรไปแล้ว ทำอะไรได้ดี หรือทำอะไรได้ไม่ดี

ค. วางแผนทำให้ดีขึ้น 1 เรื่องครั้งต่อไป

ฟังดูง่าย แต่ทำยาก เพราะต้อง ฝึกฝน และฝึกฝืน กับความคุ้นเคยของเรา โดยเฉพาะขั้นตอน “ก่อนพูด”

ลองนำไปปรับใช้ดูครับ