การติดตามงานแบบมืออาชีพ

ผู้จัดการมีหน้าที่ทำงานให้สำเร็จผ่านบุคคลอื่น ไม่ใช่ทำงานด้วยตนเองไปทุกเรื่อง

งานจะสำเร็จผ่านคนอื่นได้ ต้อง มอบหมายงานที่ดีและติดตามงานได้ดี

ผู้บริหารที่เก่ง จะมีความสามารถใน “การติดตามงานแบบมืออาชีพ”

1. ทำไมคนส่วนใหญ่ ติดตามงานแบบมืออาชีพ ได้ไม่เก่ง

2. การติดตามงานแบบมืออาชีพ มีขั้นตอนอะไรบ้าง

3. เราจะพัฒนาทักษะ การติดตามงานแบบมืออาชีพ นี้ขึ้นมาได้อย่างไร

4. ข้อควรระวังในเรื่อง การติดตามงานแบบมืออาชีพ คืออะไร

5. Checklist ที่ช่วยให้เรามี การติดตามงานแบบมืออาชีพ ได้ดีควรเป็นอย่างไร

6. เราควรมีแนวทางในการติดตามแบบมืออาชีพให้เหมาะกับแต่ละบุคคลอย่างไร

1. ทำไมคนส่วนใหญ่ ติดตามงานแบบมืออาชีพ ได้ไม่เก่ง: 

หลายคนอาจจะรู้สึกว่าการติดตามงานเป็นการรบกวนหรือเป็นการควบคุม ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่

นอกจากนี้ สำหรับคนไทย หลายคนรู้สึกเกรงใจ และคิดไปว่าเป็นการไม่ให้เกียรติ หรือบางคนก็กลัวว่าเขาจะคิดว่าเราไม่ไว้วางใจ

2. การติดตามงานแบบมืออาชีพ มีขั้นตอนอะไรบ้าง: 

    – ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน

    – สื่อสารเป้าหมายและความคาดหวัง

    – ตรวจสอบความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอ

    – ให้ข้อเสนอแนะและแก้ไขปัญหา

    – ประเมินผลและปรับปรุง

3. เราจะพัฒนาทักษะ การติดตามงานแบบมืออาชีพ นี้ขึ้นมาได้อย่างไร: 

a. เริ่มที่ต้องมีทัศนคติก่อนว่า การติดตามงานแบบมืออาชีพเป็นการช่วยให้คนทำงานไม่หลุดกรอบ

และทำให้แผนงานใหญ่เป็นไปตามเป้าหมาย นอกจากนี้ หากเราเป็นมืออาชีพ เราจะสื่อสารสุภาพและตรงไปตรงมาอย่างมีวุฒิภาวะ

b. การสังเกตคนที่ติดตามงานเก่งก็ช่วยได้

c. นอกจากนี้ การหารือกับ Mentor / Coach ก็จะทำให้เราเข้าใจความคิดตนเองมากขึ้น

4. ข้อควรระวังในเรื่อง การติดตามงานแบบมืออาชีพ คืออะไร: 

– หลีกเลี่ยงการเป็น “Micromanager” และให้ความสำคัญกับการสื่อสารที่เป็นกลาง

5. Checklist ที่ช่วยให้เรามี การติดตามงานแบบมืออาชีพ ได้ดีควรเป็นอย่างไร:

    – ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและเป็นไปได้

    – สร้างแผนการติดตาม

    – สร้างเมตริกส์หรือตัวชี้วัด

    – ตั้งเวลาสำหรับการตรวจสอบความคืบหน้า

    – จัดทำรายงานและประเมินผล

6. เราควรมีแนวทางในการติดตามแบบมืออาชีพให้เหมาะกับแต่ละบุคคลอย่างไร:

เนื่องจากเราแต่ละคนมี preference คือ จริต สไตล์ บุคลิก และความชอบ ที่แตกต่างกัน ดังนั้น เราจึงไม่ควรใช้วิธีเดียวกันกับทุก ๆ คน

การติดตามงานแบบมืออาชีพต้องยืดหยุ่นและปรับตัวให้เหมาะสมกับบุคคลแต่ละคน ตามแนวทางดังนี้:

a. ทำความรู้จักบุคคลใต้บังคับบัญชา: สำคัญที่จะทำความรู้จักและเข้าใจสไตล์การทำงาน ความสนใจ และจุดแข็ง-จุดอ่อนของบุคคลในทีม

b. ปรับการสื่อสารให้เหมาะแต่ละคน: บางคนอาจชอบการสื่อสารผ่านอีเมล ในขณะที่บางคนอาจชอบการพูดคุยหน้าหน้า ควรปรับวิธีการสื่อสารให้เหมาะสม

c. ตั้งเป้าหมายที่เป็นส่วนตัวและเฉพาะเจาะจง: ให้เป้าหมายและงานที่มอบหมายเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องและสำคัญสำหรับบุคคลนั้น

d. ให้ข้อเสนอแนะและ Feedback ที่เป็นบวก: Feedback ควรเป็นเรื่องที่สร้างสรรค์และเป็นกำลังใจ ไม่ใช่เรื่องที่ทำให้คนรู้สึกถูกตำหนิ

e. ให้โอกาสในการมีส่วนร่วมและประเมินผล: ให้พนักงานมีโอกาส Feedback โดยมีการเสนอแนวคิดและวิธีการที่เราควรปรับปรุง และให้พวกเขามีส่วนร่วมในการประเมินผล

f. ปรับปรุงและปรับตัว: หลังจากที่ได้รับ Feedback ควรทบทวนและปรับแนวทางในการติดตามงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

g. เคารพความเป็นส่วนตัวและอิสระของบุคคล: หลีกเลี่ยงการเป็น Micromanager ให้ความเป็นอิสระและความรับผิดชอบให้กับบุคคลในทีม

การติดตามงานแบบมืออาชีพที่เหมาะสมกับบุคคลแต่ละคน

จะช่วยให้ทีมงานมีประสิทธิภาพและความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น 

และนี่เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับการเป็นผู้นำที่ดีและมีประสิทธิภาพ