การสื่อสารที่ถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรก

การสื่อสารเป็นทักษะที่สำคัญในการดำเนินชีวิต ทั้งในการทำงาน การเรียน ความสัมพันธ์ส่วนตัว และสังคม การสื่อความหมายที่ถูกต้อง ชัดเจน เข้าใจตรงกัน ย่อมส่งผลดีต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม ในชีวิตจริง ผู้คนมักไม่มีเวลาในการเตรียมตัวสื่อสารให้ดี 

มักจะพูดหรือเขียนออกไปด้วยความเร่งรีบ 

โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามมา

ตัวอย่างของการสื่อสารที่ผิดพลาด เช่น

– พนักงานต้อนรับพูดจาไม่สุภาพกับลูกค้า

– อาจารย์อธิบายบทเรียนไม่เข้าใจ ทำให้นักเรียนทำข้อสอบไม่ได้

– คู่รักทะเลาะกันเพราะเข้าใจความหมายของคำพูดผิด

– พนักงานขายเสนอสินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า

การสื่อสารผิดพลาดอาจก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น

– เสียความสัมพันธ์กับผู้อื่น

– เสียโอกาสในการทำงานหรือการเรียน

– เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการแก้ไข

ดังนั้น ก่อนพูดหรือเขียนทุกครั้ง 

เราควรถามตัวเอง 3 ข้อต่อไปนี้ 

เพื่อช่วยให้การสื่อสารของเราถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

1. เราเตรียมตัวดีเพียงใด

การวางแผนและเตรียมตัวที่ดี เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การสื่อสารของเรามีประสิทธิภาพ เราสามารถเตรียมตัวได้หลายวิธี เช่น

– ศึกษาข้อมูลให้เข้าใจก่อน

– รวบรวมประเด็นที่ต้องการจะสื่อสาร

– ฝึกซ้อมการพูดหรือเขียน

2. อาจเกิดความเข้าใจผิดอย่างไร

การสื่อสารที่ดีต้องคำนึงถึงบริบทและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง 

เราควรพยายามมองจากมุมมองของผู้รับสาร 

เพื่อคาดการณ์ว่าอาจเกิดความเข้าใจผิดอย่างไรบ้าง

ตัวอย่างของความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้น เช่น

– การใช้ภาษาที่กำกวม

– การพูดหรือเขียนเร็วเกินไป

– ขาดการประสานงาน

3. หากเข้าใจผิดจะเสียเวลาเพียงใด

การสื่อสารที่ผิดพลาดอาจก่อให้เกิดปัญหาที่แก้ไขได้ยากและเสียเวลามาก 

เราจึงควรคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามมาก่อนสื่อสาร

ตัวอย่างของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เช่น

– เสียเวลาในการอธิบายหรือแก้ไขความเข้าใจผิด

– เสียโอกาสในการทำธุรกิจ

– เสียชื่อเสียง

– เสียชีวิต

ตัวอย่างงการสื่อสารที่ทำให้คนเจ็ดคนเสียชีวิต…

เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2546 นาซ่าได้ส่งกระสวยอวกาศโคลัมเบียขึ้นไปปฏิบัติการครั้งที่ 28 ชื่อ STS 107  ซึ่งเป็นการศึกษาฝุ่นในชั้นบรรยากาศ โดยมีนักวิทยาศาสตร์และลูกเรือรวมทั้งสิ้น 7 คน  

เมื่อขึ้นปฏิบัติการไปได้ 8 วัน  บนพื้นโลก  วิศวกรของโบอิ้งซึ่งเป็นบริษัทผู้ออกแบบและผลิตกระสวยอวกาศได้ตรวจพบความผิดปกติ จึงทำรายงานด้วย PowerPoint จำนวน 28 สไลด์นำเสนอต่อนาซ่า 

แต่ว่าสไลด์เหล่านั้นไม่สามารถสื่อให้นาซ่าเข้าใจได้ กระทั่งวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546  เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น

ในขณะที่กระสวยอวกาศกำลังกลับเข้าสู่พื้นโลก  ก็เกิดการระเบิดขึ้นและทำให้นักวิทยาศาสตร์และลูกเรือทั้ง 7 คนเสียชีวิตทันที

นาซ่าได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนหาสาเหตุของเหตุการณ์ในครั้งนี้  หลังจากนั้น 6 เดือน รายงานจากคณะสอบสวนได้ระบุว่า สาเหตุหลักคือโฟมที่เป็นส่วนประกอบของกระสวยอวกาศและ…

สาเหตุรองคือ PowerPoint Slides!

รายงานของคณะสอบสวนนี้ได้ถูกตีพิมพ์ไว้ในหนังสือพิมพ์ The New York Times ฉบับวันที่ 14 ธันวาคมพ.ศ. 2546  (ที่มา: https://mcdreeamiemusings.com/blog/2019/4/13/gsux1h6bnt8lqjd7w2t2mtvfg81uhx)