Self Feedback ให้ตัวเองเมื่อไม่มีใครให้เราได้

Feedback คือข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับผลงาน เพื่อให้คนทำงานทราบว่า 

1. เขาทำอะไรได้ดี เพื่อรักษาสิ่งดีนั้นต่อไป และเพื่อต่อยอดจากดีไปสู่ยอดเยี่ยม 

2. ช่วยให้คนที่ทำงานพลาด ทราบว่าเขาพลาดอะไร และควรทำให้ถูกต้องอย่างไร เพื่อลดโอกาสผิดพลาดแบบเดิมในอนาคต

หากใครไม่ได้รับ Feedback เขาจะทำงานจะเก่งขึ้นได้ยากมาก

บางคนทำผิด ๆ ไปจนอายุมาก และโดนให้ออกจากงานเพราะ พฤติกรรมบางอย่าง

ที่ไม่เคยมีใครให้ Feedback เขา

แต่ว่าหัวหน้างานส่วนใหญ่ Feedback ไม่ได้ดีเพราะ

1. ไม่มีข้อมูลเพียงพอว่า เขาทำอย่างไร จึงทำออกมาได้ ดี/ไม่ดี

2. ไม่กล้าบอกสิ่งที่ควรปรับปรุง เพราะกลัวเขาจะ ต่อต้าน/ไม่ชอบ/เสียใจ

3. ไม่รู้ว่า ประโยชน์/โทษ ของการ มี/ไม่มี Feedback เป็นอย่างไร

คนทำงานจึงควรมีเทคนิคในการมองหา Feedback อย่างไม่เป็นทางการด้วยตนเอง

1. การสะท้อนตนเอง (Self-reflection):

วิธีปฏิบัติ: จดบันทึกประจำวันเกี่ยวกับงานที่ทำ ตั้งคำถามกับตนเองว่า 

“วันนี้ฉันทำอะไรได้ดี มีอะไรที่ควรปรับปรุง”

ตัวอย่าง: หลังจากการประชุมทีม จดบันทึกเกี่ยวกับสิ่งที่นำเสนอได้ดีและประเด็นที่ต้องการพัฒนา 

อย่างเช่น การสื่อสารหรือการนำเสนอ

2. การขอ Feedback จากเพื่อนร่วมงาน:

วิธีปฏิบัติ: ขอความคิดเห็นจากเพื่อนร่วมงานที่ไว้ใจได้ 

ถามพวกเขาเกี่ยวกับสิ่งที่คุณทำได้ดีและสิ่งที่ต้องการปรับปรุง

ตัวอย่าง: หลังจากการนำเสนอโปรเจ็กต์ ขอ Feedback จากเพื่อนร่วมทีม

เกี่ยวกับสไตล์การนำเสนอและการสื่อสารของคุณ

3. การวิเคราะห์ผลลัพธ์ของงาน:

วิธีปฏิบัติ: ทบทวนผลลัพธ์ที่ได้จากงานที่ทำ และพิจารณาว่ามีอะไรที่คุณทำได้ดีและสิ่งที่สามารถปรับปรุงได้

ตัวอย่าง: หากคุณรับผิดชอบโปรเจ็กต์หนึ่ง วิเคราะห์ความสำเร็จของโปรเจ็กต์นั้น 

และหาข้อสรุปว่าอะไรทำให้ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว

4. การเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต:

วิธีปฏิบัติ: ทบทวนเหตุการณ์หรือโปรเจ็กต์ในอดีตที่คุณเคยทำ พิจารณาสิ่งที่ได้เรียนรู้

ตัวอย่าง: ถามตนเองว่า “โปรเจ็กต์ที่ผ่านมา ฉันทำอะไรได้ดี มีอะไรที่ควรปรับปรุง”

5. การรับฟังและสังเกตการณ์ผู้นำและเพื่อนร่วมงาน:

วิธีปฏิบัติ: สังเกตและเรียนรู้จากผู้นำหรือเพื่อนร่วมงานที่มีประสบการณ์ 

สังเกตว่าพวกเขาจัดการกับสถานการณ์หรืองานอย่างไร

ตัวอย่าง: สังเกตวิธีการที่ผู้จัดการทีมของคุณจัดการกับความขัดแย้งในทีม

และพยายามนำเอาแนวทางนั้นมาปรับใช้ในสถานการณ์ของตนเอง

นอกจากนี้ จากประสบการณ์ ผมขอแนะนำเพิ่มเติมอีกสองวิธีคือ

A. ลองทำแบบสอบถามทางจิตวิทยาหลาย ๆ แบบ เช่น CliftonStrengths / MBTI / DISC แล้วลองนำผลมาวิเคราะห์ดู เพื่อมองหาแบบแผนจากหลาย ๆ แบบสอบถาม ว่า อะไรคือ จุดแข็ง/จุดอ่อน ของเรา แล้วจัดการแก้ไข 

B. ลองถามตัวเองว่า “มีเรื่องไหนที่คนอื่น เข้าใจเราผิดบ่อย ๆ” โดยอาจจะดูแนวทางจากตารางใน Post นี้ดูครับ เช่น เรามองตัวเองว่า “ขี้อาย” แต่คนอื่นมองว่า “หยิ่ง” แสดงว่าเราอาจจะถูกมองว่าหยิ่งในสายตาคนส่วนใหญ่ เราจึงต้องกลับมาปรับพฤติกรรมที่ส่งผลให้คนมองเราผิดให้เหมาะสมกับ Norm ที่เราอยู่ครับ

Feedback / Self-Feedback / Self-Reflection เป็นกระบวนการต่อเนื่อง เราควรหมั่นทำบ่อย ๆ

บางคนทบทวนรายวัน / บางคนรายสัปดาห์ / บาคนรายเดือน / บางคนรายไตรมาส

บางคนใช้วิธิคิดในเวลาว่าง / ขณะออกกำลัง / หลังตื่นนอน /ก่อนนอน

บางคนใช้วิธีเขียนทบทวน

หัวใจคือหมั่นทำบ่อย ๆ ด้วยวิธีที่ถูกจริตเรา 

เพื่อเราจะมีพฤติกรรมที่สอดคล้องความคาดหวังคนรอบ ๆ ตัวครับ