ลดอัตตา ด้วยการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

บทความโดย: โค้ชเกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย
ภาพ: Andrea Piacquadio

ความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ ย่อมาจาก Emotional Quotient หมายถึง การที่เรามีขีดความสามารถในการตระหนักรู้ เข้าใจ และ จัดการอารมณ์ของตัวในทางที่ดี และตระหนักรู้ เข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น
ส่งผลให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ดีขึ้น

ทำไมเราต้องมีความฉลาดทางอารมณ์ด้วย

เพื่อให้จัดการกับการแสดงออกของตัวเอง และการทำงานร่วมกับคนอื่น
ได้ทั้งผลสัมฤทธิ์ของงาน และได้พัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน

วิธีการทำอย่างไร

1. ตระหนักถึงความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์
2. เข้าใจว่าอารมณ์มีผลต่อพฤติกรรม
3. ตระหนักรู้และเข้าใจตัวเอง
4. ตระหนักรู้และเข้าใจคนอื่น
5. บริหารอารมณ์ตัวเอง และจัดการความสัมพันธ์กับผู้อื่น มีตัวอย่างอย่างไร

1. ตระหนักถึงความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์
อดีตเราคิดว่าคนฉลาดคือคนที่มีความคิดหรือ IQ สูง แต่ปัจจุบันเราพบว่าต้องมีความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence / Emotional Quotient – EQ) สูงด้วย หากใครมี EQ น้อยก็สามารถพัฒนาได้

2. เข้าใจว่าอารมณ์มีผลต่อพฤติกรรม
พฤติกรรมการแสดงออกของเราขึ้นอยู่กับความคิด และอารมณ์ ในขณะนั้น
หากเรามีแนวความคิดดี และอารมณ์ดี เราสามารถแสดงความคิดออกมาได้ดี หากเรามีแนวความคิดดี แต่อารมณ์ขุ่นมัว เราอาจะแสดงความคิดออกมาได้ไม่ดี เช่นเราเสนอกลยุทธ์การตลาดที่ดีมาก แต่โดนซีอีโอดุว่า “กลยุทธ์นี้ไม่ได้เรื่องจริง ๆ” เราจึงเกิความเครียดและประหม่ามากทำให้ยิ่งพูดสับสน และทำให้ความคิดที่อาจจะดีในตอนที่เราคิดมา แต่ว่านำเสนอไม่ดี ทำให้ดูสับสนและไม่รู้เรื่องมากขึ้น

3. ตระหนักรู้และเข้าใจตัวเอง
ว่าทำไมเราจึงแสดงออกแบบที่เราแสดงออก ตัวอย่างเสนองานที่โดนซีอีโอดุ เราต้องเข้าใจว่า “ความประหม่ามีผลต่อการพูดของเรา” ทำให้ยิ่งพูดไม่รู้เรื่องมากขึ้น

4. ตระหนักรู้และเข้าใจคนอื่น
เราต้องตระหนักว่า “เราไม่สามารถควบคุมคนอื่นได้ และคนอื่นอาจจะมีความคิดเห็นต่อเราไม่ตรงกับเจตนาของ เรา เขาอาจจะตีความจากมุมมองของเขา เราจึงไม่ควรไปทุกข์ใจกับการที่เขาอาจจะเข้าใจไม่ตรงกับเจตนาเรา ตัวอย่างกรณีที่ซีอีโอที่ดุ เขาอาจจะไม่เข้าใจว่าแนวความคิดเราดีจริง ๆ เพราะเราอาจพูดให้เขาไม่เข้าใจได้ ตั้งแต่แรก เขาจึงไม่เห็นดีด้วย และธรรมชาติเขาอาจจะเป็นคนเสียงแข็งกับทุกคนที่เขาคิดว่า “คิดมาได้ไม่ดีพอ”

5. บริหารอารมณ์ตัวเอง และจัดการความสัมพันธ์กับผู้อื่น เมื่อเราตระหนักรู้ และเข้าใจธรรมชาติเราและของคนอื่นพอสมควร

เราจะมีสติพอที่จะกลับมาจัดการกับอารมณ์ตัวเอง
หรือบางครั้งเราอาจจะยังคิดลบจากปฎิกิริยาลบ
เราก็ต้องมีวิธีบริหารอารมณ์ตัวเอง
เช่น เปลี่ยนมุมมองใหมให้เป็นบวก ในกรณีนี้ เราอาจจะมองเป็นแง่บวกว่า “ผู้ใหญ่เมตตาบอกเราตรง ๆ ว่าเขา คิดอย่างไร” หรือ “ผิดเป็นครู” หรือ “เราได้เรียนรู้ว่าเราต้องพูดให้กระชับตรงประเด็นและเข้าใจง่าย จะช่วยให้ คนอื่นซื้อไอเดียเราได้ดีขึ้น”

ตลอดจนการรักษาความสัมพันธ์อันดีต่อผู้ร่วมงานด้วย