พัฒนาภาษาอังกฤษด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์

บทความโดย: โค้ชเกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย
ภาพ: RODNAE Productions

มีเพื่อนใน facebook ถามว่า “จะพัฒนาภาษาอังกฤษอย่างไร”

ผมขอแชร์ประสบการณ์ส่วนตัวละกันครับ

ผมเคยเขียนบทความรายสัปดาห์ Bridging the Gap ใน Bangkok Post เป็นเวลา 16 ปี (2000-2016) และตี พิมพ์หนังสือภาษาอังกฤษที่สอนคนต่างชาติให้ทำงานกับคนไทยชื่อ Bridging the Gap เช่นเดียวกัน (ปัจจุบัน ขาดตลาดไปแล้ว)

ผมโค้ชผู้บริหารระดับสูงมา 19 ปี ช่วงสิบปีแรก ครึ่งหนึ่งของลูกค้าที่ผมโค้ชเป็นชาวต่างชาติ ผมจบปริญญาตรี ม.รามคำแหง คณะนิติศาสตร์ ไม่เคยไปเรียนต่อต่างประเทศ

แล้วผมทำอย่างไรกับการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของผม

คำตอบคือความพยายาม และการเรียนรู้จากการทำงานที่ใช้ภาษาอังกฤษครับ

ตอนผมเรียนรามฯ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเปิด คณะนิติฯ บังคับให้เรียนภาษาอังกฤษเพียงสองเล่มแต่ผมเลือก เรียนสี่เล่มเลย เพราะคิดว่าภาษาอังกฤษน่าจะเป็นประโยชน์ในการทำงานในอาคต ขณะนั้นพื้นฐานภาษาก็ พอใช้ได้ไม่ถือว่าดี แต่อ่อนไวยากรณ์มากตั้งแต่นั้นจนกระทั่งบัดนี้ การเรียนครั้งนั้นได้พื้นฐานบ้างนิดหน่อย

จบรามฯ มา งานแรกฝึกทนายได้สองเดือนมีลูกค้าชาวมาเลเซียซึ่งเช่าโรงแรมที่พัทยาชวนไปทำงานด้วย เขา กำลังถูกฟ้องขับไล่เพราะค้างค่าเช่า ผมไปทั้งที่รู้ว่าอีกไม่นานก็ต้องตกงาน แต่คาดหวังว่าทำงานกับชาวต่าง ชาติที่พูดไทยได้บ้างในธุรกิจการโรงแรม น่าจะพัฒนาภาษาอังกฤษได้ ซึ่งก็ได้มาระดับหนึ่ง

เจ็ดเดือนต่อมานายและผมถูกฟ้องขับไล่ออกมา ผมตกงานสามเดือน ก็ได้งานลูกจ้างรายวันที่เรียกว่า Temporary Staff ปัจจุบันมักเรียกว่า Contract Staff นั่นเอง เป็นงานในบริษัทอเมริกันทำหน้าที่ช่วยงานฝ่าย บัญชี ตอนนั้นภาษาอังกฤษไม่มีโอกาสใช้เลย จึงตัดสินใจไปเรียนภาษาอ.ตอนเย็นที่เอยูเอ หกเดือนต่อมาได้ งานประจำเป็นพนักงานขายที่ซิตี้แบงก์ ว่าไปแล้วพัฒนาการภาษาอังกฤษก็ยังไม่ดีเพราะไม่มีโอกาสใช้งาน

ที่ซิตี้แบงก์ผมหยุดเรียนเอยูเอเพราะไม่ค่อยได้ใช้ภาษา งานที่ซิตี้แบงก์เป็นพนักงานขายติดต่อลูกค้าชาวไทย ส่วนใหญ่ การใช้ภาษาอ.น้อยมาก แต่ก็ขวนขวายไปซื้อหนังสือบริหารการขายภาษาอังกฤษมาหนึ่งเล่ม เงิน เดือน 8,000 บาทหนังสือราคา 1,600 บาทจากเอเชียบุ๊คส์ พยายามขวนขวายพัฒนาภาษาอังกฤษจากงานเท่าที่ จะทำได้ซึ่งไม่มากนัก อาศัยการเรียนโดยการฟังข่าววิทยุภาษาอังกฤษแล้วออกเสียงตาม ดูหนังเคเบิ้ลทีวีและ หนังแผ่นโดยการออกเสียงตาม Subtitle ก็พัฒนาขึ้นมาบ้าง

อยู่ซิตี้แบงก์ได้สี่ปีก็ได้งานใหม่ที่อีริคสันสองปีซึ่งไม่มีโอกาสใช้ภาษามากอีกเช่นกันเพราะเป็นงานขาย แต่ขณะ นั้นสนใจงานการตลาด จึงตัดสินใจไปเรียนโครงการ Master in Marketing (MIM) สมัยที่ยังเป็น Certificate เรียน 1 ปีซึ่งเรียนเป็นภาษาอังกฤษ ก็ได้ขึ้นมาอีกหน่อย

โชคดีได้กลับมาซิตี้แบงก์ในตำแหน่งหัวหน้าพนักงานขาย คราวนี้โอกาสใช้ภาษาอังกฤษมีมากขึ้นโดยเฉพาะ งานเขียน เพราะว่ารายงานและเอกสารต้องใช้เป็นภาษาอังกฤษ ตอนนี้ก็เริ่มพัฒนาขึ้นมาบ้าง แต่ก็ยังไม่ถึงขั้น ดี โชคดีที่นายเมตตานายผมชื่อคุณวิชัยเขียนภาษาอังกฤษเก่ง คอยชี้แนะการเขียน ผมเองแอบเอารายงานที่ ภษาสวย ๆ ของเขา มาลอกบ่อย ๆ ให้คุ้นมือ ในตอนนั้นก็พยายามไปเรียนภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจที่ Sasin ลง ไปหลาย Short Coureses ก็ดีขึ้นมาอีกหน่อย

งานที่ซิตี้แบงก์ก้าวหน้าขึ้น ได้โปรโมทเป็นผู้ช่วยผู้จัดการขาย ผู้จัดการขาย ถูกส่งไปอบรมต่างประเทศบ้าง แถวเอเชียนี่เอง มีครั้งหนึ่งต้องไปอบรมแล้วกลับมาสอนคนไทย ตอนนั้นน่าจะเป็นตอนที่พัฒนามากที่สุดใน

เบื้องต้น เพราะไปเรียนเพื่อมาสอน หลังจากนั้นก็มีอีกหลายวิชาที่ต้องแปลงของต่างประเทศมาสอนน้องคน ไทย ทำให้เกิดทักษะทั้งการเขียน และการแปล

นอกจากนี้มีคนเคยสอนว่าหากต้องการพัฒนาการเขียน ให้นำผลงานเช่นรายงาน หรือบทความ ที่เราชื่นชม มาคัดลอกเช่นชอบบทความไหนก็มาเขียนลอกห้าครั้ง อย่างน้อยจะได้ความคุ้นเคย ก็ลองทำบ้าง ได้มาอีกนิด

มีบางตำราสอนบอกว่าให้เชื่อจิตใต้สำนึกของเรา โดยให้พยายามอ่านหนังสือ บทความ หนังสือพิมพ์ เอกสารภาษาอังกฤษ ให้มาก และคิดว่าเราเข้าใจ อ่านไปมันก็จะพอเข้าใจ ลองทำดู นานเข้าก็พอจับทางได้ เพราะไม่ค่อยชอบเปิดพจนานุกรม จึงใช้วิธีอ่านเดาไปเรื่อย มันก็พอจะรู้เรื่องบ้างระดับหนึ่ง

แต่ว่าจุดหักเหที่ทำให้พัฒนาอย่างมากเลยคือที่ทำงานใหม่ที่ DHL

ผมมีโอกาสมาทำงานที่ DHL ในตำแหน่งผู้จัดการขายและการตลาดขึ้นตรงกับนายชาวออสเตรเลีย ทำงานกับ เขาสามปีได้ทักษะภาษามาเต็ม ๆ นอกจากนี้ที่ DHL ต้องติดต่อต่างประเทศตลอดเวลาเพราะเป็นธุรกิจขนส่ง ระหว่างประเทศมีการใช้อีเมลก่อนที่จะมีอินเตอร์เน็ทเสียอีก และการทำงานรายงานนายออสเตเลียสองคนที่ เมืองไทยหนึ่งคนและที่สิงคโปร์อีกหนึ่งคน ต้องเดินทางต่างประเทศมาก สิงคโปร์นี่ไปบ่อย บางครั้งไปเช้าเย็น กลับ และมีโอกาสเดินทางไปอบรมอีกในหลายประเทศทั่วโลก ที่ DHL ทำให้พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบ ก้าวกระโดดเลย นอกจากนี้การที่ชอบสอนก็ต้องเอาตำราคู่มือของบริษัทแม่จากต่างประเทศแปลเป็นไทยมา สอนคนไทย ก็ได้พัฒนาตนเองขึ้นไปอีก

จาก DHL ผมมาอยู่ที่ Kepner-Tregoe บริษัทที่ปรึกษาอเมริกันขนาดเล็ก ผมมาอยู่ที่นี่ 5 ปี ก็เป็นก้าวกระโดด อีกเช่นกัน เพราะว่าต้องประสานงานโครงการที่ปรึกษาโดยทำหน้าที่กึ่งล่ามกึ่ง Project Co-ordinator ให้กับที่ ปรึกษาที่เรานำเข้ามาจากตางประเทศ ที่นี่ผมได้มีโอกาสขลุกกับโปรเจ็คท์หนึ่งที่ระยองประมาณหนึ่งปี กับ Tom Doyle ที่ปรึกษาอาวุโสจากสำนักงานใหญ่อเมริกา นี่ผมได้เรียนรู้ Cross-cultural Communication ของคน ไทยและอมเริกันแบบลึกซึ้งไปพร้อมกับทักษะภาษาอังกฤษด้วย

ด้วยความอยากช่วยทอมเวลาประชุมกับลูกค้าหากเขาพูดไทยกัน ผมจะแปลสดเป็นภาษาอังกฤษโดยการพิมพ์ ลงโน๊ตบุ๊คของผมให้ทอมอ่านจากหน้าจอแบบ Real time มันก็ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอย่างมาก ในขณะ เดียวกัน คู่มืองานที่ทอมส่งให้ลูกค้าคนไทย ผมก็อาสาแปลให้โดยไม่มีใครขอเพราะอยากช่วยลูกค้าแล้วก็ อยากให้ลูกค้ายอมรับเราว่าเรามีคุณค่ามากเท่าที่เราจะทำได้

ที่เคปเนอร์ก็เดินทางบ่อย และมีโอกาสไปทำงานที่อเมริกาหนึ่งเดือน ก็ได้เรียนรู้เรื่องภาษาอีกเช่นกัน

จังหวะเดียวกันนั้นมีคนชวนเขียน Blog ภาษาอังกฤษเป็นบทความรายเดือนชื่อ Thailand Tales (ปัจจุบันปิดไป แล้ว) เขียนได้ห้าปี Bangkok Post ก็ชวนมาเขียนคอลัมน์รายสัปดาห์ ซึ่งเขียนต่อเนื่อง 16 ปี การเขียนก็ เป็นการพัฒนาได้อย่างดีเช่นกัน

งานในฐานะลูกจ้างมืออาชีพครั้งสุดท้าย มีโอกาสทำงานกับธนาคารดีบีเอสจากสิงคโปร์ที่เข้ามาร่วมทุนกับไทย ทนุ ทำอยู่สามปี งานนี้ก็มีนายไทยและต่างชาติมากมายทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย ฝรั่งเศส ทักษะภาษาก็พัฒนา ไปอีกขั้นหนึ่ง ประกอบกับมีโอกาสทำงานกับที่ปรึกษาต่างชาติหลายบริษัทที่เข้ามาช่วยงานธนาคารฯ ในตอน นั้น เลยได้พัฒนาภาษาอังกฤษชั้นสูงไปด้วย เพราะว่าที่ปรึกษาต่างชาติเวลาเขาทำรายงาน เวลาเขานำเสนอ จะมีรูปแบบ แบบจำลอง กระบวนการ และเครื่องมือต่าง ๆ มากมาย

สำหรับ 21 ปีที่โดดออกมาทำเองในนามเดอะโค้ช 10 ปีแรก งานครึ่งหนึ่งเป็นการคนผู้บริหารระดับสูงหลาย ชาติ ยิ่งมีโอกาสพัฒนาภาษาอังกฤษขึ้นมาเรื่อย ๆ

นอกจากนี้ผมซื้อหนังสือภาษาอังกฤษ และหนังสือเสียง Audio Book เยอะมาก ในช่วงแรก ประมาณเดือนละ 10 เล่มเป็นเวลาติดต่อกันร่วม 10 ปี ปัจจุบันก็ซื้อลดลงเยอะมาก

หวังว่าเรื่องที่เล่ามานี้ คงเป็นบทเรียนสำหรับคนที่อยากพัฒนาภาษาอังกฤษบ้างไม่มากก็น้อยครับ

ปัจจุบัน ภาษาอังกฤษก็พูดพอใช้ได้ สำเนียงไทย ๆ การเขียนก็พอใช้ได้เช่นกัน งานเขียนที่ลง Bangkok Post นั้นถ้าไม่มีบรรณาธิการมาช่วยตรวจไวยากรณ์ก็คงไม่ได้เรื่อง แต่ว่าผมกล้าพูด กล้าเขียน ไม่กลัวมาก นัก แม้ว่าลึก ๆในใจแล้วก็ยังกลัวผิด กลัวพลาด กลัวดูไม่ดี แต่ว่าผมคิดว่าคนต่างชาติเขาสนใจเนื้อหาของ เรามากกว่าความสละสลวยของภาษา ที่สำคัญเราพยายามให้ดีที่สุดที่จะทำให้เขาเข้าใจด้วยการใช้ภาษา

อังกฤษแบบง่าย ๆ ครับ