ทักษะการฟังของผู้นำ
จากประสบการณ์ และแนวคิดต่าง ๆ ผมประมวลว่ามี 4 ระดับ
ระดับ 1: เข้าใจเนื้อหา ตรงตามที่ผู้พูดต้องการ
ระดับ 2: เข้าใจเนื้อหา และอารมณ์ ตรงตามที่ผู้พูดต้องการ
ระดับ 3: เข้าใจเนื้อหา อารมณ์ ตรงตามที่ผู้พูดต้องการ และยอมรับความคิดที่แตกต่างได้
ระดับ 4: เข้าใจเนื้อหา อารมณ์ ตรงตามที่ผู้พูดต้องการ ยอมรับความคิดที่แตกต่างได้ และมองหาจุดร่วมได้
วิธีพัฒนา ในแต่ละระดับทำอย่างไร
ระดับ 1: เข้าใจเนื้อหา ตรงตามที่ผู้พูดต้องการ
วิธีพัฒนา: อยู่กับปัจจุบัน / ทวนสิ่งที่ได้ยินในใจ / สรุปสิ่งที่ได้ยินเมื่อเขาพูดจบ
ระดับ 2: เข้าใจเนื้อหา และอารมณ์ ตรงตามที่ผู้พูดต้องการ
วิธีพัฒนา: อยู่กับปัจจุบัน / ทวนสิ่งที่ได้ยินในใจ / สรุปสิ่งที่ได้ยินเมื่อเขาพูดจบ / บอกเขาว่าเราคิดว่าเขารู้สึกอย่างไร
ระดับ 3: เข้าใจเนื้อหา อารมณ์ ตรงตามที่ผู้พูดต้องการ และยอมรับความคิดที่แตกต่างได้
วิธีพัฒนา: อยู่กับปัจจุบัน / ทวนสิ่งที่ได้ยินในใจ / สรุปสิ่งที่ได้ยินเมื่อเขาพูดจบ / บอกเขาว่าเราคิดว่าเขารู้สึกอย่างไร / เชื่อมั่นว่าเขามีเจตนาดี
ระดับ 4: เข้าใจเนื้อหา อารมณ์ ตรงตามที่ผู้พูดต้องการ ยอมรับความคิดที่แตกต่างได้ และมองหาจุดร่วมได้
วิธีพัฒนา: อยู่กับปัจจุบัน / ทวนสิ่งที่ได้ยินในใจ / สรุปสิ่งที่ได้ยินเมื่อเขาพูดจบ / บอกเขาว่าเราคิดว่าเขารู้สึกอย่างไร / เชื่อมั่นว่าเขามีเจตนาดี / บอกมุมมองที่เราคิดว่าเหมือนและต่าง
สมมติว่า C-Level คนหนึ่ง เป็น Candidate CEO ในบริษัทหนึ่ง ในอีกสองปีข้างหน้า
แต่ว่า ระดับการฟังยังอยู่ในระดับ เข้าใจเนื้อหา ตรงตามที่ผู้พูดต้องการ
ขณะที่ใน IDP ระบุว่า Priorioty สำคัญของเขาคือ “การพัฒนาเรื่องนี้ไปสู่ระดับ 4 ภายใน 3 ปีให้ดี”
เราจึงนำเรื่องนี้มาวางแผนพัฒนา โดยการใช้คำถาม ถามไปที่ 70-20-10 Rule แต่ละข้อ
เพื่อให้ได้คำตอบออกมาเป็นกิจกรรมที่เราจะลงมือไปพัฒนา
โดยเราอาจจะวางแผนว่า ในปีแรก
จากระดับ 1 เข้าใจเนื้อหา ตรงตามที่ผู้พูดต้องการ
ไประดับ 2 เข้าใจเนื้อหา และอารมณ์ ตรงตามที่ผู้พูดต้องการ
ตัวอย่างเช่น…
คำถาม 10% “คุณคิดว่าต้องเข้าอบรมวิชาอะไร” / อ่านหนังสืออะไร
- 7 อุปนิสัยของผู้มีประสิทธิผลสูง Signature Edition 4.0 on site PacRim 12 ชม.
- Active Listening with Empathy Webinar 1 ชม.
คำถาม 20% “คุณคิดว่า ใครที่พอจะเป็นพี่เลี้ยง/โค้ช ในเรื่องนี้ให้เราได้บ้าง”
– จ้างโค้ชมาโค้ชตัวต่อตัว เดือนละ 3 ชม. 6 เดือน = 18 ชม.
คำถาม 70% “คุณคิดว่าต้องทำอะไรบ้างเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ในทักษะนี้ให้เก่งขึ้น”
คำตอบที่ได้ ต้องมีหลากหลาย เพื่อให้ครอบคลุม 70%
ตัวอย่างคำตอบของกิจกรรม เช่น
1. ฝึกการฟัง 80% ในการสนทนาสำคัญวันละ 30 นาที = 100 ชม./ปี
2. นั่งสมาธิวันละ 15 นาที เพื่อฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบัน = 50 ชม./ปี
3. ฝึกการฟัง ด้วยการถอดเทป Podcast ที่สนใจ สัปดาห์ละ 1 ชม = 50 ชม./ปี
ถ้าเรานำจำนวนชั่วโมงในแต่ละรูปแบบมารวมกัน = 231 ชม.
อบรม 13 ชม. = 6 %
โค้ช 18 ชม. = 8%
ประสบการณ์/ลงมือทำจริง ชม. 200 = 86%
แล้วนำกิจกรรมทั้งหลายมาจัดทำเป็นแผนงานใน 12 เดือนข้างหน้าครับ