1. ตั้งเป้าหมายที่จะสร้างผลงานให้ดีกว่าเดิม
2. สื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้มากขึ้น
3. ใช้สื่อให้หลากหลายและต่อเนื่อง
4. บอกสิ่งที่ทำไปแล้ว ที่กำลังทำ และจะทำ
5. ยืดหยุ่น ไม่ยึดติดเวลาทำงานปกติ
6. หากมีเวลาว่างเพิ่ม ของานที่อยากทำเพิ่ม
เรามาดูหลักคิดของแต่ละข้อกันครับ
1. ตั้งเป้าหมายที่จะสร้างผลงานให้ดีกว่าเดิม
คนดีและเก่ง จะถามตัวเองเสมอว่า “ทำอย่างไรเราจะทำงานเดิมด้วยเวลาและทรัพยากรที่ลดลง” เขาจะมุ่งมั่นคิดวิเคราะห์กระบวนการ/ขั้นตอน/คนที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาทางตอบสนองลูกค้าให้ ดีขึ้น เร็วขึ้น ต้นทุนลดลง
แต่ต้องแน่ใจว่า เวลาที่เราจะทุ่มเทไปนั้น มันเป็น Priority สำคัญขององค์กร และเป็นสิ่งที่ลูกค้าให้คุณค่าด้วย
2. สื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้มากขึ้น
ในอดีต คุณอาจจะไม่ค่อยมีโอกาสสื่อสารตรงกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับต่าง ๆ มากมายนัก แต่ว่าเมื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ทำให้เรามีโอกาสได้สื่อสาร ได้โชว์หน้าโชว์ตา ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เราอาจจะไม่มีโอกาสได้พบเจอหากเป็นภาวะปกติ เราจึงควรสื่อสารมากขึ้นอย่างเหมาะสม
3. ใช้สื่อให้หลากหลายและต่อเนื่อง
เดี๋ยวนี้มีเครื่องมือเยอะ ซักซ้อมให้คล่องแคล่ว ฝึกและพัฒนาทักษะการพูด/การฟังให้เหมาะกับการ Video Conference (VC) ฝึกและพัฒนาการเขียนให้ดี ๆ เพราะภาษาเขียนที่เราเขียนไปอาจถูกส่งต่อไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็น Key Person ในหลากหลายวงการได้
4. บอกสิ่งที่ทำไปแล้ว ที่กำลังทำ และจะทำ
อย่าคิดว่าทุกคนรู้และเข้าใจเรื่องงานและสิ่งที่เราทำ พยายามปูบริบท แต่ต้องสั้นและกระชับ ในเรื่องที่เรากำลังสื่อสาร มีที่มาอะไร เรากำลังทำอะไร และเราจะทำอะไร รวมทั้งเราต้องการให้เขาทำอะไร เพื่อทราบ หรือเพื่ออนุมัติ
5. ยืดหยุ่น ไม่ยึดติดเวลาทำงานปกติ
อย่าอ้างว่า “นอกเวลาทำงาน” หรืออย่าเผลอพูดไปว่า “ปกติเวลาช่วง…ผมไม่สะดวก” เพราะขณะนี้คือภาวะไม่ปกติ เป็นบริบทใหม่ เป็น New Normal ต้องพร้อมปรับตัว
6. หากมีเวลาว่างเพิ่ม ของานที่อยากทำเพิ่ม
เรื่องนี้สำคัญ หากเราทำงานของเราให้เร็วขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ เราจะมีเวลาเหลือ
ให้อาสาทำงานเพิ่ม โดยอาสางานที่เราถนัดและเป็นงานที่มีนัยสำคัญในขณะนี้
งานที่มีนัยสำคัญขณะนี้ เช่น… งาน Task Force กู้วิกฤติ / งานที่ต้องหาทางพัฒนาสินค้าใหม่เพื่อสร้างรายได้ / งานยุทธศาสตร์ฟื้นฟูหลังวิกฤติ / งาน Quick-win อื่น ๆ ที่ผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญ ฯลฯ