1. Initiative หรือความคิดริเริ่มคืออะไร
2. ความคิดริเริ่มมีประโยชน์อย่างไร
3. เราจะทำอย่างไรให้พนักงานมีความคิดริเริ่ม
4. มีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมอะไรบ้าง
5. วัฒนธรรมองค์กรแบบไหนที่เกื้อหนุนความคิดริเริ่ม
6. ภาวะผู้นำแบบไหนที่สนับสนุนให้คนกล้ามีความคิดริเริ่ม
7. ตัวอย่างจากหนังสือ QBQ! The Question Behind the Question
1. ความคิดริเริ่มคืออะไร
ความคิดริเริ่ม (Initiative) คือความสามารถในการดำเนินการหรือตัดสินใจโดยไม่ต้องรอคำสั่งหรือคำแนะนำจากผู้อื่น มันเป็นคุณลักษณะที่สะท้อนถึงความมั่นใจ ความรับผิดชอบ และความสามารถในการแก้ปัญหา
2. ความคิดริเริ่มมีประโยชน์อย่างไร
– ส่งเสริมความสร้างสรรค์และนวัตกรรม
– ลดภาระของผู้นำโดยทำให้ทีมสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องรอคำสั่ง
– เพิ่มความเห็นอกเห็นใจและความรู้สึกที่มีส่วนร่วมในองค์กร
3. เราจะทำอย่างไรให้พนักงานมีความคิดริเริ่ม
1. สร้างวัฒนธรรมที่เปิดกว้าง: ให้พนักงานรู้สึกว่าเขามีสิทธิ์และอิสระในการเสนอความคิด
2. รับฟังและให้ข้อเสนอแนะ: ตอบรับความคิดริเริ่มและให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์
3. ให้รางวัลและแรงจูงใจ: ให้ค่าตอบแทนหรือรางวัลเมื่อพนักงานแสดงความคิดริเริ่มที่ดี
4. มีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมอะไรบ้าง
– การสร้างโปรเจคหรืองานย่อย ๆ ให้พนักงานรับผิดชอบ
– การจัดงานประชุมที่ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
– การให้พนักงานเข้าร่วมในการวางแผนหรือตั้งเป้าหมาย
5. วัฒนธรรมองค์กรแบบไหนที่เกื้อหนุนความคิดริเริ่ม
– วัฒนธรรมที่เน้นการเรียนรู้และการพัฒนา
– วัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีมและการสื่อสารที่เปิดเผย
6. ภาวะผู้นำแบบไหนที่สนับสนุนให้คนกล้ามีความคิดริเริ่ม
– ผู้นำที่เปิดใจรับฟังและยินดีรับความคิดเห็น
– ผู้นำที่สามารถให้ข้อเสนอแนะและแรงจูงใจในทิศทางที่ถูกต้อง
– ผู้นำที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์
7. ตัวอย่างจาก John G. Miller’ ผู้เขียนหนังสือ “QBQ! The Question Behind the Question” มีแปลเป็นไทยในชื่อ “เปลี่ยนคำถามชีวิตเปลี่ยน” หรือถ้าแปลตรง ๆ ก็อาจจะแปลได้ว่า “คำถามเบื้องหลังคำถาม”
John เล่าถึงประสบการณ์เมื่อเขาไปทานอาหารกลางวันในร้านอาหารแห่งหนึ่งซึ่งมีลูกค้าแน่นเต็มร้าน
หลังจากหาที่นั่งได้ บริกรคนหนึ่งซึ่งเดินยกถาดใส่จานที่ใช้แล้วและกำลังจะนำกลับไปล้างในครัวเดินผ่านเขาไปด้วยท่าทีร้อนรน อย่างไรก็ตามบริกรคนนั้นยังสังเกตเห็นเขาจึงวางถาดลง
เขาเดินมาแนะนำตัวว่า “ผมชื่อจาค๊อบครับ ไม่ทราบว่ามีใครมารับรายการอาหารของคุณแล้วหรือยังครับ” จอห์นตอบว่ายัง จาค๊อบจึงลงมือจดรายการอาหารด้วยท่าทีกระฉับกระเฉง
จอห์นสั่งว่า “ขอสลัด ขนมปังโรลล์และไดเอ็ทโค๊ก” จาค๊อบตอบว่า “ร้านเรามีแต่ไดเอ็ทเป๊ปซี่ได้ไหมครับ” จอห์นตอบกลับไปอย่างอารมณ์ดีว่า “ไม่เป็นไรครับขอนํ้าเปล่าก็แล้วกัน”
สักพักอาหารก็มาตามสั่ง
หลังจากจอห์นรัปประทานไปได้สักครู่จาค๊อบก็เดินมาหาเขาอย่างกระตือรือร้นพร้อมกับไดเอ็ทโค๊ก
จอห์นยิ้มด้วยความแปลกใจพร้อมกับถามไปว่า “ขอบคุณมาก ไหนคุณบอกว่าร้านคุณไม่มีขายไงละ”
จาค๊อบตอบว่า “เราซื้อมาจากร้านสะดวกซื้อมุมถนนครับ”
จอห์นถามต่อว่า “แล้วใครจ่ายละ” จาค๊อบตอบว่า “ผมเองครับ แค่เหรียญเดียว” จอห์นถามต่อด้วยความอยากรู้ “คุณดูยุ่งมากเลยออกไปซื้อตอนไหนละ” จาค๊อบตอบ “ผมรบกวนผู้จัดการร้านไปซื้อให้ครับ”
นี่ไงครับตัวอย่างของ “ความคิดริเริ่มคือการลงมือทำในสิ่งที่ถูกต้องโดยไม่ต้องมีใครสั่งให้ทำ”
อย่างไรก็ตาม ในวัฒนธรรมองค์กรที่ยังยึดติดแบบอาวุโส วิธีนี้อาจจะไม่เวิร์ค
สรุป:
ดังนั้น หากจะให้พนักงานมีความคิดริเริ่ม
ผู้บริหารอาจจะต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กร
ที่สนับสนุนให้คนเกิดพฤติกรรมที่ริเริ่มสร้างสรรค์ให้ได้ก่อนครับ