ทำอย่างไรเมื่อเป็นหัวหน้าที่เกรงใจ

หัวหน้ามือใหม่หลายคนเกรงใจทีมงานทำให้

ไม่กล้ามอบหมายงาน 

หรือมอบหมายไปแล้วเขาทำออกมาไม่ได้ดี ก็ไม่กล้า Feedback

เพราะอะไร

เพราะระดับอัตตาต่ำ (Unhealthy Ego) 

ก่อนอื่นเลย เราต้องมาทำความเข้าใจเรื่อง

ระดับอัตตาที่เหมาะสม  Healthy Ego ก่อนว่ามันคืออะไร

คือระดับความมั่นใจในตัวเองที่เหมาะสม และสอดคล้องกับบริบทและความคาดหวัง

ไม่ต่ำเกินไป หรือสูงเกินไป

เช่น เราเป็นผู้จัดการ เรามีระดับอัตตาระดับพนักงาน 

เวลาเราต้องการแสดงความเห็นในที่ประชุมระดับผจก. เราจะขอพูดเป็นคนสุดท้ายด้วยท่าทีไม่มั่นใจ 

ในขณะที่บริบทที่นี่ คนอื่นที่เป็นผจก.จะแสดงความเห็นในบทสนทนาร่วมกับผจก.คนอื่นได้อย่างเหมาะสม

แสดงว่าระดับอัตตาเราต่ำกว่าที่ควร

ในทางตรงกันข้าม เราเป็นผจก.แต่มีระดับอัตตา CEO

เวลาคนอื่นแสดงความเห็น เรากลับตัดบทคนอื่นบ่อย ๆ โดยให้ทุกคนทำตามความเห็นของเราเท่านั้น

แสดงว่าระดับอัตตาเราสูงเกินควร

ระดับอัตตาที่เหมาะสม ทำให้เราแสดงออก 

สอดคล้องกับบริบทสังคม  และเหมาะสมวัฒนธรรมองค์กร  

การมีระดับอัตตาที่เหมาะสม จะทำให้เกิดประโยชน์คือ

ทำงานร่วมกับคนอื่นได้ดี

โน้มน้าวคนอื่นได้ดี

เราสามารถบริหารระดับอัตตาของเราให้เหมาะสมได้ด้วยแนวทางดังนี้

1. ระบุพฤติกรรมหลักของระดับอัตตาที่เหมาะสม

2. ฝึกการแสดงออกในแต่ละพฤติกรรมก่อนพบคน

3. ตั้งสติก่อนที่จะพบคนโดยเฉพาะกิจกรรมสำคัญ

4. ประคองความตระหนักรู้ และคิดก่อนแสดงออก

5. เมื่อจบแต่ละครั้งประเมินว่าเราทำได้ดีเพียงใด

6. หากย้อนกลับไปได้จะทำให้ดีกว่าเดิมอย่างไร

ตัวอย่าง 

เราไม่กล้ามอบหมายงาน เพราะเกรงใจ

ดังนั้น เราต้องมาดูก่อนว่า 

หากเรามีระดับอัตตาที่เหมาะสม เราควรต้องทำอย่างไร

1. ระบุพฤติกรรมหลักของระดับอัตตาที่เหมาะสม

ก. เข้าใจเป้าหมายในอาชีพของแต่ละคนก่อน

ข. สื่อสารให้เห็นว่างานสอดคล้องเป้าหมายฯอย่างไร

ค. สื่อสารให้ถูกจริตแต่ละบุคคล

ง. ถามระดับความมั่นใจ

จ. แนะนำปัญหาที่เกิดบ่อย

ฉ. ตกลงวิธีติดตามงาน

2. ฝึกการแสดงออกในแต่ละพฤติกรรมก่อนพบคน

ลองซักซ้อมบทพูดหน้ากระจกก่อน

ลองบันทึกลง Video ในมือถือ

ส่งให้ Mentor feedback

3. ตั้งสติก่อนที่จะพบคนโดยเฉพาะกิจกรรมสำคัญ

เตือนใจตัวเองว่า หากเราแสดงออกต่ำไปคนอาจคิดว่าเราไม่มั่นใจ

หากเราแสดงออกอัตตาสูงเกินไป คนจะไม่ให้ความร่วมมือ

พยายามทำตามที่เราซ้อมมา

4. ประคองความตระหนักรู้ และคิดก่อนแสดงออก

5. เมื่อจบแต่ละครั้งประเมินว่าเราทำได้ดีเพียงใด

6. หากย้อนกลับไปได้จะทำให้ดีกว่าเดิมอย่างไร

ลองฝึกใช้กับการให้ Feedback ดูว่า

“เราจะ Feedback อย่างไรให้ดู Healthy Ego”