ในหนังสือเจาะจุดแข็ง โดย Marcus Buckingham และ Donald O.Clifton มีข้อความหนึ่งพูดถึงคนที่มี Talent Themes Achiever ว่าคนกลุ่มนี้มักได้รับงานเยอะเสมอ จนกระทั่งมีคำพูดว่า “ถ้าคุณอยากให้งานเสร็จ ให้ใช้คนที่กำลังยุ่งอยู่”
เราพบว่าประสิทธิภาพไม่สัมพันธ์เสมอไป กับปริมาณงานที่มากขึ้น คนเก่ง ที่มักจะมีภาระงานที่หนักหน่วง จะถูกมอบหมายงานให้มากขึ้นเรื่อย ๆ
ผลจากการวิจัยโดย Spira และ Feintuch ในปี 2005 เรื่อง “The cost of not paying attention: How interruptions impact knowledge worker productivity” โดย Information Overload Research Group (IORG) การวิจัยนี้เน้นไปที่วิธีที่การขัดจังหวะส่งผลกระทบต่อผลผลิตของผู้ทำงานที่ทำงานด้านความรู้ หรือ knowledge workers ระบุว่า การมอบหมายงานที่มากเกินไปอาจนำไปสู่การลดลงของคุณภาพงานและความเครียดในที่ทำงาน
อย่างไรก็ตาม คนที่รับมอบงานเยอะอาจลังเลที่จะหารือปัญหานี้กับหัวหน้า
เพราะคิดไปเองว่า หัวหน้ามองว่าตัวเองเก่งไม่พอ หรือมองว่าไม่รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
ในทางกลับกัน หัวหน้าส่วนใหญ่ไม่คิดเช่นนั้น
หัวหน้าส่วนใหญ่ มั่นใจในความรับผิดชอบของเราจึงกล้ามอบหมายงานให้เยอะขึ้น
การหารือกับเขา เป็นการแสดงความคิดริเริ่มแบบ Pro-Active
ที่หัวหน้าส่วนใหญ่จะเข้าใจ และหาทางช่วยเราให้ปรับแผนงานได้ดียิ่งขึ้น
แนวทางการหารือกับหัวหน้า เกี่ยวกับปัญหางานล้นมือนั้นควรปฏิบัติด้วยวิธีการดังนี้:
1. การยืนยันความมุ่งมั่น: เริ่มการสนทนาด้วยการยืนยันว่าคุณมีความมุ่งมั่นที่จะส่งมอบผลงานที่มีคุณภาพสูงภายในเส้นตายที่กำหนด
2. การขอคำแนะนำ: แสดงความต้องการคำแนะนำเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ คุณควรแสดงท่าทีว่าพร้อมที่จะรับคำแนะนำ และปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของคุณ
3. จัดลำดับความสำคัญใหม่: สอบถามผู้นำเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญของงานที่มอบหมายให้กับคุณ เพื่อช่วยให้คุณสามารถจัดสรรเวลาและทรัพยากรได้อย่างเหมาะสมใหม่ให้สอดคล้องกับบริบท
ในระหว่างการเข้าหารือหัวหน้า หากมีโอกาส ลองสอบถามเขาด้วยคำถามชุดนี้
1. ทำอย่างไรเราจะทำงานทุกงานให้ทันและดี
2. ขั้นตอนการทำงานไหนของเราที่ควรปรับปรุง
3. เกณฑ์ในการจัดลำดับความสำคัญควรพิจารณาอย่างไร
แล้วนำความเห็นของหัวหน้ามาลองประยุกต์ใช้
แล้วรีบรายงานผลให้หัวหน้าทราบ
อย่างไรก็ตาม หากหัวหน้าไม่แสดงท่าทีที่สนับสนุนเท่าที่ควร
คุณอาจจะต้องพิจารณาทางเลือกอื่นที่เหมาะกับบริบทของคุณ