อัตตาที่เคยเป็นในอดีต หรือ Old Ego เช่น
ก. หัวหน้าประสบการณ์มากกว่าลูกน้อง
ข. หัวหน้ามีดุลพินิจดีกว่าลูกน้อง
ค. หัวหน้าประเมินอนาคตได้ดีกว่าเพราะมีข้อมูลในอนาคตมากกว่า
สิ่งที่เป็นในยุคปกติใหม่ หรือ New Normal
a. ประสบการณ์ที่ผ่านมา ใช้ไม่ได้ทั้งหมดหลังโควิด-19
b. ดุลพินิจดี ใช้ไม่ได้ทั้งหมดหลังโควิด-19
c. การประเมินอนาคต หลังโควิด-19 ทำได้ยากกว่าเดิมมาก เพราะไม่เคยเกิดมาก่อน
Old Ego: หัวหน้าคือคนที่ฉลาดที่สุด มีคำตอบสำหรับทุกเรื่อง คำสั่งของหัวหน้าเหมาะที่สุด
New Normal: หัวหน้าอาจจะไม่ใช่คนที่ฉลาดที่สุด “ความโง่” (ความไม่รู้) กลายเป็น “ความฉลาดใหม่”
จึงเป็นสาเหตุว่า “ทำไมหัวหน้าจึงต้องฟังลูกน้องมากขึ้น”
ลูกน้องซึ่งอยู่ใกล้ปัญหา / ใกล้ลูกค้า / ใกล้สนามรบ (ที่เต็มไปด้วยคู่แข่ง)
จึงน่าจะมีความเข้าใจในบริบทของสถานการณ์รอบด้าน
จึงน่าจะเห็นข้อจำกัดของระบบนิเวศทางธุรกิจที่ทำให้ทำงานไม่ราบรื่น
ลูกน้องจึงมีโอกาสที่จะ “เห็นทางแก้ของปัญหา” มากกว่าหัวหน้า
ลูกน้องจึงอาจจะฉลาดกว่าหัวหน้าในการหาทางแก้ปัญหาเรื่องหน้างาน
หัวหน้าที่ฉลาดต้องตระหนักว่าตัวเองโง่กว่าลูกน้องในการหาทางแก้ปัญหาหน้างาน
หัวหน้าจึงต้องฟังลูกน้องให้มากขึ้น
แล้วหัวหน้าจะมีประโยชน์อะไรถ้าไม่สามารถแนะนำลูกน้องได้อีกต่อไป
หัวหน้าต้องฟังมากขึ้น เพื่อจะได้ไปช่วยกรุยทางให้ลูกน้องทำงานได้ราบรื่นขึ้นด้วยการ…
1. ไปประสานงานกับหัวหน้าฝ่ายงานอื่น
2. ไปสู้รบปรบมือกับพวกเล่นการเมือง
3. ไปหาทางปรับระบบนิเวศให้ทำงานได้
4. ไปขออนุมัติระดับบนเพื่อให้งานเดิน
5. ไปรับมือลูกค้า รายใหญ่/รายหิน แทนลูกน้อง
คำถามชวนคิด
a. อดีตคุณฟังลูกน้องได้มีประสิทธิภาพเพียงใด (ให้คะแนนตนเอง ใช้เกณฑ์ 1 ถึง 100)
b. วันนี้คุณฟังลูกน้องได้มีประสิทธิภาพเพียงใด (ให้คะแนนตนเอง ใช้เกณฑ์ 1 ถึง 100)
c. คุณคิดว่า ต้องทำอย่างไรให้ฟังลูกน้องได้ดียิ่งขึ้น
ที่มา: Leadership Mentor – พี่เลี้ยงผู้นำภาคปฏิบัติ โดยเกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย