การสื่อสารโน้มน้าวเป็นคุณสมบัติสำคัญของ Knowledge Workers สมัยนี้
แต่ว่าคนมักตีความว่า “คนที่สื่อสารโน้มน้าวเก่งต้องพูดเก่ง
“บางคนตีความว่า “พูดเยอะ = พูดเก่ง”
ที่จริงแล้วการ “พูดเยอะ” แต่สาระน้อย ไม่ใช่การพูดเก่ง
อาจกลายเป็นจุดอ่อนไปก็ได้
เราจึงเห็นคนพูดเยอะที่โน้มน้าวไม่เก่งมากมาย
คนไทยส่วนใหญ่ไม่ใช่คนพูดเก่ง
อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ของผม
มีคนเก่งหลายคนที่พูดน้อย
แต่โน้มน้าวได้ยอดเยี่ยม
เพราะเขาช่างสังเกตและฟังเก่ง
เขานำคุณสมบัติของตัวเองมาพัฒนาเป็นกลยุทธ์ดังนี้
1. ก่อนพบใครให้ทำการบ้านศึกษาเรื่องของเขา
2. ใช้ความช่างสังเกตศึกษาคนแต่ละคนเมื่อพบกัน
3. ตั้งคำถามปลายเปิดที่ทำให้เขาให้ข้อมูลได้เยอะ
4. การฟังอย่างตั้งใจเป็นเสน่ห์ของคนเงียบ ๆ
5. คนส่วนใหญ่รู้สึกว่าคู่สนทนาที่ตั้งใจฟังคือคนที่ใส่ใจ
6. การพูดน้อยแต่เลือกพูดให้ถูกจังหวะดีกว่าคนพูดมาก
7. การใช้ผลงานที่เป็นเลิศพูด เสียงดังกว่าการใช้เพียงลมปาก
แทนที่จะพยายามฝึกพูดให้เก่งเพียงอย่างเดียว
กลับมาพัฒนาการทำงานให้เก่ง แล้วลองผนวกกับกลยุทธ์ทั้ง 7 ข้อนี้ดู
Coaching Questions:
ใครที่คุณสังเกตว่า เขาพูดน้อย แต่โน้มน้าวเก่งบ้าง / เขาทำอย่างไร
หนังสือ “เป็นคนเงียบๆ ก็ได้เปรียบได้” โดยเธมส์ THINK ต่าง ช่วยพัฒนาการโน้มน้าวได้อย่างไร
ถ้าเราเป็นคนเงียบ ๆ และไม่คิดพัฒนาการโน้มน้าวเลย จะมีความเสี่ยงอะไร
ที่มา: Leadership Mentor – พี่เลี้ยงผู้นำภาคปฏิบัติ โดยเกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย