70/20/10 Framework แนวคิดที่พัฒนาโดย Morgan McCall, Robert Eichinger และ Michael Lombardo จาก Center for Creative Leadership มีหลักการคือ การพัฒนาทักษะ ทำได้โดยสามกิจกรรมตามสัดส่วนคือ
– จากชั้นเรียน / การฝึกอบรม 10%
– จากการโค้ช / มีพี่เลี้ยงช่วยสอน 20%
– จากประสบการณ์การทำงาน 70%
ประสบการณ์ที่ยากลำบาก ทำให้เก่งในเวลาอันสั้น เช่น
1. บริหารทีมงานธุรกิจที่มีปัญหา
2. บริหารทีมงานที่ขาดประสบการณ์
3. บริหารทีมงานที่มีความสามารถในการทำงานไม่ได้มาตราฐาน
4. บริหารทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญสูงมากกว่าเรา
5. บริหารทีมงานที่ปฏิบัติงานประจำที่ซ้ำซากน่าเบื่อ
6. บริหารทีมงานที่ขยายและเติบโตอย่างรวดเร็ว
7. ดูแลการตัดงบประมาณ
เพราะว่า แต่ละประสบการณ์ มีข้อดีอย่างน้อยสามข้อดังนี้
ข้อ 1. บริหารทีมงานธุรกิจที่มีปัญหา
ข้อดีข้อที่ 1 : ได้ฝึกทักษะการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจภายใต้ความกดดัน
ข้อดีข้อที่ 2 : พัฒนาความสามารถในการมองเห็นและจัดการกับความท้าทายที่ซับซ้อน
ข้อดีข้อที่ 3 : ส่งเสริมทักษะการสื่อสารและการประสานงานเพื่อสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพ
ข้อ 2. บริหารทีมงานที่ขาดประสบการณ์
ข้อดีข้อที่ 1 : ได้ฝึกทักษะการสอนและถ่ายทอดความรู้
ข้อดีข้อที่ 2 : ได้ฝึกทักษะการกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจ
ข้อดีข้อที่ 3 : ปรับปรุงทักษะการจัดการทรัพยากรมนุษย์และการวางแผนระยะยาว
ข้อ 3. บริหารทีมงานที่มีความสามารถในการทำงานไม่ได้มาตรฐาน
ข้อดีข้อที่ 1 : ได้ฝึกทักษะการกำกับดูแลและติดตามงาน
ข้อดีข้อที่ 2 : ได้ฝึกทักษะการมอบหมายงานและมอบอำนาจ
ข้อดีข้อที่ 3 : ได้ฝึกทักษะการเจรจาต่อรอง
ข้อ 4. บริหารทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญสูงมากกว่าเรา
ข้อดีข้อที่ 1 : ส่งเสริมทักษะในการเรียนรู้และการยอมรับคำแนะนำจากผู้อื่น
ข้อดีข้อที่ 2 : พัฒนาความสามารถในการเป็นผู้นำที่มีความยืดหยุ่นและการปรับตัว
ข้อดีข้อที่ 3 : เสริมสร้างความไว้วางใจและการเคารพต่อความสามารถของทีม
ข้อ 5. บริหารทีมงานที่ปฏิบัติงานประจำที่ซ้ำซากน่าเบื่อ
ข้อดีข้อที่ 1 : พัฒนาทักษะในการสร้างแรงจูงใจและการปรับปรุงกระบวนการทำงาน
ข้อดีข้อที่ 2 : เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในทีม
ข้อดีข้อที่ 3 : ปรับปรุงการจัดการทรัพยากรและการกำหนดเป้าหมายใหม่ ๆ
ข้อ 6. บริหารทีมงานที่ขยายและเติบโตอย่างรวดเร็ว
ข้อดีข้อที่ 1 : ได้ฝึกทักษะการวางแผนและการจัดสรรทรัพยากร
ข้อดีข้อที่ 2 : ได้ฝึกทักษะการโน้มน้าวและจูงใจผู้อื่น
ข้อดีข้อที่ 3 : ได้ฝึกทักษะการปรับตัวและการเปลี่ยนแปลง
ข้อ 7. ดูแลการตัดงบประมาณ
ข้อดีข้อที่ 1 : พัฒนาทักษะการจัดการทางการเงินและการวิเคราะห์ทางธุรกิจ
ข้อดีข้อที่ 2 : เสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร
ข้อดีข้อที่ 3 : ปรับปรุงการสื่อสารกับทีมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากร
นอกจากนี้ ประสบการณ์การทำงานที่ดียังช่วยให้บุคลากรได้พัฒนาทักษะอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการทำงานเป็นทีม
ทักษะการแก้ปัญหา
ทักษะการคิดวิเคราะห์
ทักษะการโน้มน้าวและจูงใจผู้อื่น เป็นต้น
ซึ่งทักษะเหล่านี้ล้วนเป็นทักษะที่จำเป็นในการทำงานในยุคปัจจุบัน
สรุป:
ประสบการณ์การทำงานที่ดีทั้ง 7 ข้อที่กล่าวมา เป็นงานยากและท้าทาย สร้างแรงกดดันให้คนทำงาน
หากเราไม่ได้เป็นคนที่คิดจะเติบโตและก้าวหน้า เราอาจจะเป็นทุกข์มาก
แต่หากเราปรารถนาจะเติบโตและก้าวหน้าในเวลาอันสั้น ประสบการณ์เหล่านี้มีประโยชน์มาก
เราอาจจะไม่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจมากนักในขณะที่นำโครงการเหล่านี้
แต่เราจะได้เรียนรู้และพัฒนาแบบก้าวกระโดด
หากเราเรียนปริญญาโทหรือปริญญาเอก เราอาจจะสอบตกหากทำข้อสอบพลาด
แต่ปริญญาประสบการณ์นั้น หากเราทำพลาดเราได้บทเรียนและองค์กรก็ไม่ได้คิดค่าเล่าเรียนเราเพิ่ม
แถมยังจ่ายเงินเดือนให้เราเท่าเดิมด้วย เพื่อให้เราเก่งขึ้น
ดังนั้น การเรียนรู้จากประสบการณ์เราจึงมีแต่ได้กับได้ครับ
เราไม่มีสิทธิ์เลือกสภาวะแวดล้อม
แต่เรามีสิทธิ์เลือกทัศนคติได้เสมอครับ