บทความโดย: โค้ชเกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย
ภาพ: Kampus Production
วิกฤติโควิด-19 ทำให้เราต้องปรับตัวมากขึ้น องค์กรส่วนใหญ่ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อทันการเปลี่ยนแปลง ท่ามกลางความคลุมเครือที่ยังมีต่อไป
จากนี้ต่อไปการทำงานในองค์กร ต้องเน้นการทำงานเป็นทีมมากขึ้น
ทักษะสำคัญที่คนทำงานต้องมีมากขึ้นคือ การประสานงานแบบมืออาชีพ เรามาดูว่า จะต้องทำอย่างไรกันบ้างครับ
1. เริ่มต้นที่ทัศนคติก่อนว่า “ไม่ห่วงว่าใครจะได้เครดิต” หากทุกคนห่วงว่าทำไปแล้วผลงานจะตกกับเราอย่างไร เราอาจเสียโฟกัส เพราะต้องมาเสียเวลาคิดหาหนทางเพื่อให้ได้ผลงาน ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงมันรอไม่ได้
2. มองข้ามไซโล บูรณาการเพื่อภาพรวม การทำงานแบบไซโล คือ คิดแบบแผนกใครแผนกมัน เราต้องการให้ งานแผนกเราเสร็จ ส่วนภาพรวมเราอาจจะไม่นึกถึง ในอดีตงานมักย้อนกลับไปกลับมาหากคิดแบบแยกส่วน แต่ ตอนนี้เราต้องมองให้ครบวงจรไปเลยว่า สิ่งที่เราทำจะช่วยสร้างคุณค่าให้ลูกค้าได้ดีที่สุดอย่างไร หากงานที่เรา จะส่งมอบ มีโอกาสสร้างปัญหาได้ เราจะจัดการอย่างไรให้เบ็ดเสร็จที่เราเท่าที่จะทำได้
3. ศึกษาข้อมูล ทำการบ้านก่อน เราต้องหมั่นติดตามข่าวสารภายนอกและภายใน เพื่อให้เห็นภาพรวม ในอดีต ใครจะทำอะไรเราอาจจะไม่สนใจได้ แต่ตอนนี้เราทุกคนควรจะมีภาพใหญ่ใกล้เคียงกันให้มากที่สุด หมายถึงเรา ต้องตื่นตัวเรื่องข้อมูลที่เกี่ยวกับงานเราและงานเพื่อน ซึ่งอาจหมายถึงการใช้เวลานอกงานเพื่อจัดการกับข่าวสาร เหล่านั้น
4. อย่าตัดสินคนอื่น ใช้ข้อมูล ระวังไม่ตำหนิว่าใครผิดเมื่อเกิดปัญหาในงาน การเปลี่ยนแปลงที่เร็วและผันผวน จะส่งงผลให้มีการผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ เกิดมากขึ้นกว่าในอดีต หากเรามัวแต่คอยจับผิด คนจะคอยคิด ป้องกันตัวเอง และนำไปสู่การ “ไม่ทำผิด” ซึ่งหมายถึง “การพยายามหาเหตุผลที่จะไม่ทำ” มากขึ้นนั่นเอง
5. เข้าใจว่าคนอาจต่อต้าน เราอาจจะมีการแนะนำแนวทางใหม่ ๆ ในการทำงาน และอาจเกิดแรงต้านขึ้น เรา ต้องเรียนรู้ที่จะสร้างแนวร่วมก่อนจะเปลี่ยนแปลงการทำงาน ถามและทำความเข้าใจ Painpoint คนอื่นด้วย และ ให้เขาเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะแนวทางใหม่ ๆ ให้มากที่สุด เพื่อลดการต่อต้าน
6. เคารพและให้เกียรติ เชื่อว่าคนอื่นตั้งใจดีที่สุดในแบบของเขา เขาอาจจะไม่ได้ทุ่มเทแบบเรา เคารพการ ตัดสินใจของเขา ให้เกียรติเขาแบบมืออาชีพ ในขณะที่ต้องสื่อสารอย่างเหมาะสม สุภาพ และตรงไปตรงมา
7. สื่อสารให้เหมาะสม ก่อนลงมือทำ ระหว่างทำ และหลังการกระทำ อย่ากลัวว่าจะเป็นการสื่อสารมากเกินไป ให้ระวังไว้ว่า “เราอาจจะสื่อสารน้อยเกินไปเสมอ” พยายามใช้หลากหลายสื่อ และมีความถี่ให้เหมาะกับแต่ละ สื่อและแต่ละกลุ่มเป้าหมาย