งานที่ยากที่สุดงานหนึ่งของผู้บริหารจำนวนมาก
คือการประเมินผลงานปลายปี
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการติดตามผลงานในภาพรวมของแต่ละคนในแต่ละปี
ผู้บริหารส่วนใหญ่ทำได้ไม่ดี ไม่ได้ติดตามผลเป็นระยะ
หลายคนจึงเลี่ยงที่จะคุยต่อหน้า
แต่ใช้วิธีประเมิน แล้วส่งให้ผู้ถูกประเมินไปอ่านเองแล้วเซ็นต์รับทราบมา
ผู้บริหารมืออาชีพ
มักจะมีการประเมินผลงานเป็นระยะ
แบบไม่เป็นทางการ ระหว่างปีอยู่แล้ว
หากเป็นเช่นนั้น เมื่อถึงเวลาปลายปี
ก็สามารถจะทำได้ดี
การสร้างความไว้วางใจ (Trust) ก็สำคัญ
หากทั้งสองฝ่าย Trust กันสูง
การสนทนาจะเป็นไปอย่างสร้างสรรค์
หาก Trust ต่ำ มักจะไม่คุยกันเลย
แง่คิดการประเมินผลงานปลายปี
1. ดูให้ครบทั้ง ค่านิยมส่วนบุคคล ขั้นตอน และผลลัพธ์
2. ดูผลงานให้ครบช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาอย่าดูเพียงช่วงสั้น ๆ
3. ดูว่าเขามีพัฒนาการเพียงใดเทียบปีที่แล้ว
4. หากเขาสำเร็จ เรามีส่วนอย่างไร
5. หากเขาพลาด เรามีส่วนอย่างไร
6. ระวังอย่าให้อคติบดบังดุลพินิจ
7. เราจะช่วยให้เขาดีและเก่งขึ้นได้อย่างไร
สำหรับปีนี้เราควรทำต่างไปจากเดิม
ในการประเมินผลงานลูกน้องปลายปี
นอกจากเจ็ดข้อใน Post นี้แล้ว
ในปีที่องค์กรเผชิญวิกฤต เราควรเสริมเรื่อง…
ก. ความพยายาม และตั้งใจ ในภาวะผันผวนที่ผ่านมา
ข. การเรียนรู้และปรับตัว ที่เราสังเกตเห็น หากเขาเรียนรู้ได้ไว
ค. เข้าใจ และเห็นใจ หากสภาพแวดล้อมเขาไม่เอื้อให้สร้างผลงาน
เพราะว่า…
คนส่วนใหญ่ก็ทุกข์จากบริบทต่าง ๆ ในช่วงวิกฤตมากพอแล้ว
อย่าไปทำให้เขาทุกข์เพิ่มอีกโดยไม่จำเป็น
เราเพียงพยายามทำหน้าที่ประเมินเขาให้ดี
ด้วยการเตรียมตัวให้เต็มที่อย่างมืออาชีพ
ที่มา: Leadership Mentor – พี่เลี้ยงผู้นำภาคปฏิบัติ โดยเกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย