บริหารคนรับผิดชอบสูงต่างกับคนอื่น

หากคุณมีลูกทีมที่ทำงานรับผิดชอบสูงมาตลอด

อย่าใช้วิธีบริหารแบบเดียวกันกับคนที่รับผิดชอบต่ำ    

คนรับผิดชอบสูง อาจจะเบื่อและหมดไฟ

แล้ววันหนึ่งเขาจะไปรับผิดชอบสูง ในที่ทำงานอื่น

หลักการก็คือ…

1. มอบหมายงานแล้ว ไม่ต้องตามงาน เชื่อใจเขาเถอะ

2. หัวหน้าควรเข้มบริหารคนรอบตัวเขาที่ไม่รับผิดชอบ

3. อย่าตำหนิคนไม่รับผิดชอบแบบเหมารวมในที่ประชุม

    (คนรับผิดชอบสูงมองว่าไม่แฟร์ที่ต้องโดนด่าไปด้วย)

4. อย่ามอบหมายแต่คนที่รับผิดชอบสูงเพียงไม่กี่คน

    (เพราะว่าวันหนึ่งเขาจะไปรับผิดชอบงานในที่อื่น)

เรามาดูรายละเอียดของแต่ละข้อกัน

1. มอบหมายงานแล้ว ไม่ต้องตามงาน เชื่อใจเขาเถอะ

หัวหน้าบางคน ไม่ค่อยไว้วางใจทีมงาน 

ต้องคอยติดตาม ตรวจสอบความคืบหน้า ถามเป็นระยะ กับทุก ๆ คน

แทนที่จะทำกับบางคนที่เคยมีประวัติว่า “ไม่ค่อยรับผิดชอบ” เท่านั้น

หากใครที่เขาเคยรับผิดชอบสูงมาตลอด อย่าไปเสียเวลาจ้ำจี้จ้ำไชไปกับเขาเลย

เพราะเสียเวลาเราแล้ว ยังสร้างความรำคาญให้คนรับผิดชอบสูงโดยไม่จำเป็น

สองข้อถัดไปอธิบายพร้อม ๆ กันเลยคือ…

2. หัวหน้าควรเข้มบริหารคนรอบตัวเขาที่ไม่รับผิดชอบ

3. อย่าตำหนิคนไม่รับผิดชอบแบบเหมารวมในที่ประชุม

คนรับผิดชอบสูงมองว่าไม่แฟร์ที่เขาจะต้องโดนด่าด้วย

หัวหน้าบางคน ไม่ชอบเผชิญหน้ากับคนที่ไม่รับผิดชอบ

แทนที่จะ Feedback ตรง ๆ ตัวต่อตัวกับคนเกเร

กลับไปบอกในที่ประชุม แบบตีวัวกระทบคราด

ซึ่งคนที่เขารับผิดชอบสูงส่วนใหญ่ “คิดว่าไม่แฟร์”

ที่จะต้องมา “ร่วมรับฟังคำตำหนิ” ของบางคนที่ไม่รับผิดชอบ

หัวหน้าต้องกล้าบอกคนที่เกเรตัวต่อตัว อย่ามาเหมารวม

4. อย่ามอบหมายแต่คนที่รับผิดชอบสูงเพียงไม่กี่คน

    (เพราะว่าวันหนึ่งเขาจะไปรับผิดชอบงานในที่อื่น)

การที่มีอะไรก็มอบหมายให้คนที่รับผิดชอบสูงทำเท่านั้นมันไม่ยุติธรรม

โดยเฉพาะนำงานของคนที่ไม่ค่อยรับผิดชอบ ไปให้คนอื่นที่รับผิดชอบสูง ทำบ่อย ๆ

วันหนึ่ง คนที่รับผิดชอบสูง เขาอาจจะลาออกไปที่อื่นก็ได้

หากใครที่เขาทำงานไม่ได้ เราต้องสอนให้เขาทำให้ได้

หรือไม่ก็ต้องโยกย้าย ให้เขาไปทำหน้าที่ที่เหมาะสม