วิธีพัฒนาทักษะการสังเกต

ทักษะที่เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับ Knowledge Workers ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงมีสูงคือทักษะ “การสังเกต” 

เราต้องตระหนักรู้ก่อนว่าการจะสังเกตให้ได้ดีเราต้องมีสติอยู่กับปัจจุบัน 

แล้วรับรู้บริบทต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวเรา 

เพื่อจะได้มีวัตถุดิบที่ดีเพียงพอสำหรับการจะใช้ดุลพินิจที่ดี

6 วิธีพัฒนาทักษะการสังเกต

1. มีสติ อยู่กับปัจจุบัน รับรู้สิ่งรอบ ๆ ตัว

หมายถึง การไม่จดจ่อกับอดีตหรืออนาคต แต่ให้โฟกัสกับสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้า  

สังเกตสิ่งที่เราเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส และสัมผัส โดยไม่ต้องรีบวิเคราะห์หรือตัดสิน

ตัวอย่าง:

– กำลังเดินไปทำงาน สังเกตผู้คนรอบข้างว่าแต่งตัวอย่างไร มีอารมณ์แบบไหน

– ทานอาหาร สังเกตรสชาติ กลิ่น สีสัน และเนื้อสัมผัสของอาหาร

2. มีเป้าหมายจะสังเกตเรื่องเกี่ยวกับอะไร

กำหนดประเด็นที่ต้องการสังเกต  ช่วยให้จดจ่อและเก็บข้อมูลได้ตรงประเด็น

ตัวอย่าง:

– สังเกตกิริยาท่าทางของพนักงานขาย เพื่อวิเคราะห์เทคนิคการขาย

– สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในชั้นเรียน เพื่อหาแนวทางการสอนที่มีประสิทธิภาพ

3. มองหาสิ่งที่แตกต่างจากแบบแผน

สังเกตรายละเอียดที่ไม่เหมือนใคร ตั้งคำถาม ท้าทายความคิดเดิม ๆ

ตัวอย่าง:

– สังเกตต้นไม้ในสวน สังเกตว่าใบไม้ ดอกไม้ ลำต้น มีอะไรแตกต่างจากต้นไม้ทั่วไป

– อ่านข่าว สังเกตมุมมองที่แตกต่าง วิเคราะห์ว่าข่าวมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน

4. ถามตัวเอง “ทำไมสิ่งนั้นจึงเป็นอย่างนั้น

กระตุ้นการคิดวิเคราะห์ หาคำตอบ หาเหตุผล

ตัวอย่าง:

– เห็นรถติดบนถนน ตั้งคำถามว่าทำไมถึงรถติด หาสาเหตุและแนวทางแก้ไข

– เห็นยอดขายสินค้าลดลง วิเคราะห์สาเหตุ หาแนวทางเพิ่มยอดขาย

5. บันทึกการสังเกตของตัวเองในแต่ละวัน

จดบันทึกสิ่งที่สังเกต เห็น ได้ยิน รู้สึก ช่วยให้จดจำได้ดีขึ้น

ตัวอย่าง:

– จดบันทึกสิ่งที่สังเกตระหว่างเดินทางไปทำงาน

– บันทึกเสียงสัมภาษณ์ผู้คนเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ

6. ถามคนที่สังเกตเก่งว่า “เขาคิดและทำอย่างไร

เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เทคนิค

ตัวอย่าง:

– พูดคุยกับศิลปินเกี่ยวกับเทคนิคการสังเกตและเก็บรายละเอียด

– พูดคุยกับนักสืบเกี่ยวกับเทคนิคการสังเกตและวิเคราะห์ข้อมูล

การฝึกฝนเป็นประจำ จะช่วยพัฒนาทักษะการสังเกตให้ดีขึ้น 

ช่วยให้มีข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ มีสติ รู้เท่าทันสถานการณ์ และนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต

แผนพัฒนาการสังเกตในแต่ละวัน

เราควรบันทึกการสังเกตของเราในแต่ละวันว่า

ก. สิ่งที่เราทำได้ดี ในการสังเกต คืออะไร

ข. สิ่งที่เราควรทำเพิ่ม เพื่อสังเกตให้ดีขึ้น คืออะไร

ค. สิ่งที่เราควรทำให้น้อยลง เพื่อสังเกตให้ดีขึ้น คืออะไร

ง สิ่งที่เราควรเริ่มทำ เพื่อสังเกตให้ดีขึ้น คืออะไร