เตรียมทีมให้พร้อมรับความท้าทายใหม่ๆ

“คุณเกรียงศักดิ์ คุณคิดว่าผมควรเตรียมอะไรบ้างสำหรับปีนี้” คุณพันธ์ศักดิ์ ซีอีโอขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ เตรียมความพร้อมให้แก่ทีมในเชิงรุกเพื่อรับมือกับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง

“คุณพันธ์ศักดิ์ ปกติแล้วปัจจัยที่มีผลกระทบธุรกิจของคุณมีอะไรบ้าง”

“เศรษฐกิจโลก อัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมัน และการเมืองในประเทศ”

“แนวโน้มของแต่ละปัจจัยในปีนี้จะเป็นอย่างไรบ้างครับ”

“เศรษฐกิจโลกนั้นคาดเดายาก แต่รายงานของ msnbc.com ประมาณการการขยายตัวว่าลดลงไปที่ 3.1% จาก 3.6% ในปี 2553 สำหรับอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันนั้นอยู่ในขาขึ้น ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งขึ้น

โดยรวมแล้วธุรกิจของผมเผชิญความท้าทายมากขึ้น”

“ช่วยขยายความหน่อยได้มั๊ยครับ”

“การแข่งขันรุนแรงมากขึ้น สงครามราคานั้นเลี่ยงไม่ได้ ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของลูกค้า และสัดส่วนกำไรที่น้อยลง”

“คุณพันธ์ศักดิ์ ปัจจัยเหล่านี้นั้นเลี่ยงไม่ได้ แล้วปัจจัยใดบ้างที่คุณสามารถควบคุมได้”

“สิ่งที่ผมสามารถควบคุมได้คือซีอีโอ

“ดูเหมือนคุณทราบดีอยู่แล้วในสิ่งที่ตนทำอยู่แต่ก็ยังกังวลอยู่บ้างใช่ไหมครับ”

“เรื่องพนักงานนะซี เนื่องจากองค์กรเราใหญ่และมั่นคง พนักงานส่วนใหญ่ติดกับดักความสบาย”

“แล้วคุณจะทำอย่างไร”

“ผมก็ไม่ทราบ”

“เป็นคำตอบที่ดีครับ ผมดีใจที่คุณตอบว่า ไม่ทราบ”

คุณพันธ์ศักดิ์ถามกลับด้วยความประหลาดใจ “เพราะอะไรครับ”

“เพราะเมื่อผู้นำพูดว่า ‘ผมไม่รู้’ เขาจะค้นหาคำตอบ แต่ถ้าคุณบอกว่า คุณทราบแล้วว่าต้องทำอะไร ก็เท่ากับว่าได้ตัดสินใจเลือกการลงมือทำแล้ว เมื่อความกังวลของคุณอยู่ที่มุมมองของพนักงาน คุณอาจพลาดหากคิดว่าตนเองทราบทางแก้ปัญหา”

“แล้วผมควรทำอย่างไรครับ”

“ถ้าคุณไม่ทราบ คุณคิดว่าใครจะเป็นผู้ที่สามารถให้คำแนะนำทางออกกับคุณได้บ้าง”

“ผู้จัดการฝ่ายของผม พวกเขาใกล้ชิดกับพนักงานมากกว่าผม”

“เป็นความคิดที่ดี แล้วคุณวางแผนว่าจะทำอย่างไรเมื่อคุณทราบว่าจะต้องคุยกับใครแล้ว”

“ผมจะเรียกประชุม เพื่อสื่อสารปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นให้พวกเขาทราบ จากนั้นจะสนับสนุนให้พวกเขาหาแนวทางในเชิงปฏิบัติ

แต่ผมเกรงว่าผมอาจจะอดไม่ได้ที่จะชี้นำการประชุมเหมือนที่ผ่านมา”

“ผมขอชื่นชมที่คุณตระหนักถึงปัญหาด้วยตัวคุณเอง แล้วคุณจะทำอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอีก”

“ผมคงแจ้งให้พวกเขาทราบเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจเพื่อให้พวกเขาคิดหาทางออก ผมจะทำตัวเป็นแบบอย่างการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยเปลี่ยนวิธีการดำเนินการประชุมให้มีการระดมความคิดมากขึ้น

จากนั้นให้พวกเขาเลือกประธานในที่ประชุม แล้วผมจะทำหน้าที่สังเกตการณ์เท่านั้น”

“เป็นความคิดที่ดี”

“แล้วถ้าพวกเขาเสนอความคิดที่ผมคิดว่าไม่เหมาะสมล่ะครับ”

“ผอ.ฝ่าย ฯ ของคุณมีกันกี่คน และคุณเชื่อมั่นในตัวพวกเขาในระดับใด”

“6 คนครับ ปกติแล้วพวกเขาไว้ใจได้ทีเดียว”

“ระดับความใว้วางใจที่คุณมีต่อการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ของพวกเขาอยู่ที่เท่าไหร่”

“8 ใน 10 เรื่องการตัดสินใจของพวกเขานับว่าดี ส่วนที่เหลือนั้นปานกลาง”

“แล้วพวกเขาใว้ใจการตัดสินใจของคุณมากแค่ใหน”

“ผมคิดว่าพวกเขาเชื่อใจผม 100%”

“คุณแน่ใจมากขนาดนี้เชียวหรือ”

“เพราะพวกเขาเห็นแบบแผนจากการทำงานร่วมกับผมในช่วงสองปีที่ผ่านมา อีกอย่างผมรู้ว่าความสัมพันธ์ในที่ทำงานของเราดีมาก”

“กลับมาที่คำถามของคุณที่ว่า ถ้าพวกเขาเสนอความคิดที่คุณคิดว่าไม่เหมาะสม แสดงว่าคุณกำลังพูดถึง 20% ของการตัดสินใจที่อาจไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริงใช่ใหมครับ”

“ใช่ครับ”

“แล้วคุณคิดว่าอย่างไรครับ” ผมถามกลับแทนที่จะให้คำตอบเพื่อให้เขาได้หาคำตอบด้วยตนเอง

“ผมคิดว่าผมต้องแยกแยะการตัดสินใจของพวกเขา ผมสามารถชมเชยสำหรับการตัดสินใจดี ๆ ส่วนใหญ่ของพวกเขา และสำหรับการตัดสินใจปานกลางของพวกเขา ผมก็จะให้คำแนะนำเพิ่มเติม”

“ฟังดูดีมากครับ ลองทำในสิ่งที่เราพูดคุยกันในวันนี้ แล้วมาติดตามผลกันในสัปดาห์หน้า”