เจตนาของเรา และ ความเข้าใจของเขา อาจไม่ตรงกัน (Intent vs Impact)

บทความโดย: โค้ชเกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย
ภาพ: Karolina Grabowska


ปัญหาหนึ่งในการทำงานคือความคลาดเคลื่อนในการสื่อสารระหว่างคนทำงาน โดยเฉพาะการสื่อสารระหว่าง หัวหน้า และ ลูกน้อง

เจตนาของหัวหน้า และ ความเข้าใจของลูกน้อง มักจะไม่ตรงกัน

ในหนังสือ Bringing out the best in people โดย Aubrey C. Daniels บอกว่า 85% ของเวลาผู้บริหารหมด ไปกับ การนั่งคิดแทนลูกน้อง แล้วบอกลูกน้องว่าต้องทำอย่างไร แล้วกลับมาคิดใหม่ว่าจะทำอย่างไรดีเมื่อลูก น้องไม่ทำตามที่บอก

ในบริบทของการสื่อสารระหว่าง หัวหน้า <–> ลูกน้อง หากคุณเป็นหัวหน้า ลองสำรวจตัวเองดูจากชุดคำถามนี้ครับ

ก. เวลาที่คุณสื่อสารถึงลูกน้อง คุณคาดหวัง ให้เขาเข้าใจคุณเพียงใด (0-100%) ข. หลังจากสื่อสารแล้ว คุณคิดว่าลูกน้องเข้าใจคุณจริง ๆ เพียงใด (0-100%)

หากเราเป็นลูกน้อง ลองสำรวจตัวเองดูจากชุดคำถามนี้ครับ
ค. เวลาที่คุณสื่อสารถึงหัวหน้า คุณคาดหวังให้หัวหน้าเข้าใจคุณเพียงใด (0-100%)

ง. หลังจากสื่อสารแล้ว คุณคิดว่าหัวหน้าเข้าใจคุณจริง ๆ เพียงใด (0-100%) ในความเป็นจริงแล้ว คนส่วนใหญ่

a. พูดไม่ได้ครบตามที่เจตนาตนเองต้องการ อาจจะประมาณ 50-75%
b. ฟังไม่ได้ครบตามที่ได้ยิน อาจจะประมาณ 50-75%
c. แต่ทั้งผู้พูดและผู้ฟัง คิดว่าตนเองพูดครบเจตนา 100% และอีกฝ่ายรับฟังครบเจตนา 100%

แนวทางแก้ไขคืออะไร ในการสื่อสารที่สำคัญระหว่างหัวหน้า <–> ลูกน้อง

1. เรียบเรียงความคิดให้ชัดเจนก่อนพูด
2. สื่อสารให้ชัดเจนและถูกจริตคนฟัง
3. ตั้งใจฟัง พยายามเข้าใจเจตนาที่แท้จริง
4. ฟังจบ สรุปเนื้อหาและเจตนา และถามแจกแจง
5. ประเมินตนเองทุกครั้งด้วยคำถาม ชุด ก.-ง.
6. ประเมินผลลัพธ์ของงานว่าตรงตามเจตนาเพียงใด