ภาษากายที่ “เจตนา” อาจไม่ตรงกับ “ผลลัพธ์”

บทความโดย: โค้ชเกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย
ภาพ: Mikhail Nilov


ในการสื่อสาร เราใช้ทั้ง คำพูด ภาษากาย และน้ำเสียง บ่อยครั้งที่เรามักตีความภาษากายได้หลากหลาย

ตัวอย่าง 1: ในที่ประชุม หัวหน้ามอบหมายงานให้ทีมงานห้าคนแบบเดียวกัน เมื่อมอบหมายงานเสร็จ เราเงียบ ในกรณีนี้ นายอาจคิดว่า…

A. เราเข้าใจดี และตกลงจะทำให้ B.เราไม่เข้าใจนัก แต่เราไม่กล้าถาม เราคงจะไปลองทำดู C. เราไม่เข้าใจ ไม่อยากถาม และไม่คิดจะทำ ดื้อเงียบ

ตัวอย่าง 2: หัวหน้าใหม่ แนะนำวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ของฝ่ายให้ทีมงาน 15 คน เมื่อเขานำเสนอจบ เขา ถามว่าเข้าใจไหม เรายิ้ม นายอาจคิดว่า…

A. เราเข้าใจดี ไม่มีคำถามอะไร B. เราไม่เข้าใจแต่ไม่กล้าถาม C. เราคิดว่าเข้าใจแต่ไม่เห็นด้วยและไม่กล้าแย้ง

ดังนั้นเพื่อป้องกันความเข้าใจผิด

ในกรณี 1. หัวหน้าอาจจะตรวจสอบความเข้าใจ เช่น (เลือกใช้หนึ่งในสามทางเลือก)

ก. ถามว่า “พวกเรากังวลใจอะไร” ข. “พวกเราคิดว่าอะไร” ค. “ขอโทษนะครับ ที่เงียบพอจะบอกได้ไหมครับว่ามี ความเห็นอย่างไร”

และเพื่อป้องกันความเข้าใจผิด
ในกรณี 2. หัวหน้าอาจจะตรวจสอบความเข้าใจ เช่น (เลือกใช้หนึ่งในสามทางเลือก)

ก. ถามว่า “พวกเราฟังแล้วมีความกังวลใจอะไรบ้างครับ” ข. “พวกเราคิดว่าอะไรอย่างไรครับ” ค. “ขอโทษนะ ครับ ที่ยิ้มพอจะบอกได้ไหมครับว่ามีความเห็นอย่างไร”

อย่างไรก็ตาม ก่อนลองใช้ เราอาจจะต้องประเมินว่า วัฒนธรรมองค์กร ความกล้าแสดงออกของทีมงาน ฯลฯ แล้วปรับวิธีการของเราให้เหมาะกับบริบทและสถานการณ์ครับ