“คุณเกรียงศักดิ์ ผมสังเกตว่าคุณพูดถึงเรื่อง Leadership หรือ ภาวะผู้นำ ระหว่างการโค้ชบ่อย คุณคิดว่าแนวคิดเหล่านั้นใช้ได้และเหมาะสมกับชาวไทยหรือ เพราะโดยมากแล้วหลักการที่เราอ้างอิงมาจากชาติตะวันตกส่วนใหญ่”
“ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ครับคุณประชา เหมือนเช่นสิ่งอื่น ๆ ในชีวิตที่เราต้องเรียนรู้และใช้ วิจารณญาณในการปรับใช้อย่างรอบคอบ
ผมคิดว่าปัจจัยของความเป็นไทยที่เราควรนำมาพิจารณาขณะที่นำเรื่องภาวะผู้นำจากหนังสือเกี่ยวกับการบริหารสมัยใหม่มาใช้คือ
– ความอาวุโส
– รักษาหน้า/เสียหน้า
– การคิดเชิงวิพากษ์
เรามาดูรายละเอียดกันทีละข้อ
ความอาวุโส: จะชอบหรือไม่ก็ตาม เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่านิยมแบบไทย ๆ วัฒนธรรมไทยทึกทักเอาว่ายิ่งอายุมากก็ยิ่งเก่งมากขึ้นทำให้เรามักฟังความเห็นของผู้ใหญ่ อย่างที่สุภาษิตยังใช้พูดสอนกันอย่างติดหูใว้ ‘เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด’ หรือ ‘อาบน้ำร้อนมาก่อน’
ตัวอย่างก็คือ เมื่อไม่นานมานี้ผมได้รับการติดต่อจากโค้ชอีกท่านหนึ่ง เพื่อบอกผมว่า ‘พี่เกรียงศักดิ์ครับมีลูกค้าที่สนใจอยากใด้รับการโค้ชแต่ต้องการโค้ชที่อายุมากกว่าผม ผมจึงต้องการแนะนำต่อให้พี่ เผื่อจะสนใจลองโทรติดต่อไปครับ’
การมีประสบการณ์และอายุมากกว่า ไม่ได้หมายความว่าผมเก่งกว่าโค้ชท่านนี้ แต่มันเป็นความเชื่อ ทำให้ประเด็นเรื่อง ‘ความดูมีอาวุโส’ กลายเป็นหนึ่งในเกณฑ์การเลือกโค้ชของลูกค้า”
“เป็นเรื่องจริงครับ ในฐานะที่ผมเองก็เป็นผู้ใหญ่ ผมสังเกตเห็นว่าผู้ใหญ่ท่านอื่น ๆ มักไม่ค่อยฟังในสิ่งที่คนอายุน้อยกว่าหรือมีตำแหน่งต่ำกว่าพูดนัก นี่เป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะในโลกทุกวันนี้ ไม่มีใครรู้อะไรไปเสียทุกเรื่อง ความรู้ไม่ใช่อำนาจอีกต่อไป ความรู้เป็นประชาธิปไตยที่ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการได้รับจากสื่อทางใดทางหนึ่ง เพราะว่าโลกเรามันเล็กลงทุกที
ในความคิดของผม ความเป็นผู้ใหญ่เป็นข้อเสียเปรียบถ้าคุณไม่รู้จักใช้เทคโนโลยี”
“ผมชอบในสิ่งที่คุณพูด ถ้าผู้ใหญ่ส่วนมากเปิดใจได้อย่างคุณ เราคงสามารถดึงศักยภาพของพลังหนุ่มสาวมาใช้กับองค์กรได้อย่างเต็มที่
อีกมุมคือเรื่องการรักษาหน้าและการทำความผิดพลาด วัฒนธรรมของเราให้คุณค่ากับการรักษาหน้าเป็นอย่างมาก ทำให้เราพยายามหลีกเลี่ยงการทำสิ่งผิดพลาด
แต่ภาวะผู้นำเป็นเรื่องของการมองไปในอนาคต ผู้นำต้องนำพาองค์กรไปในอนาคตที่คาดเดาไม่ได้ ทำให้การเรียนรู้จากความผิดพลาดเป็นคุณสมบัติที่มีความสำคัญ
แต่ในความเป็นจริง เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นเรามักมองหาแพะรับบาป ดังนั้นถ้าอยากเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ เราต้องเปิดรับต่อคำวิพากย์วิจารณ์ในสิ่งที่เราทำผิดด้วย
คนจำนวนมากอยากตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อย่างปลอดภัยโดยการรอให้มีข้อมูลมากพอ แต่เมื่อต้องรอนานก็อาจทำให้พลาดช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการลงมือปฏิบัติไปแล้ว
บางคนอาจทำทุกอย่างตามตำราเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาด แต่ ‘ผู้นำทำในสิ่งที่ถูกต้อง’ การตัดสินใจต้องการความกล้าหาญโดยเฉพาะในเรื่องที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน และในโลกมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลานี้เราก็ได้พบกับเรื่องใหม่ ๆ อยู่ตลอด ดังนั้นถ้าเราพยายามเลี่ยงความผิดพลาด เราก็อาจไม่ได้ตัดสินใจในเรื่องใดมากนัก เป็นผลให้ขาดนวัตกรรมใหม่ ๆ ทำให้ผู้คนทำพอใจกับสภาพปัจจุบันในขณะที่โลกของเราก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว”
“แล้วเรื่องการคิดเชิงวิพากษ์ล่ะครับ” คุณประชาถาม
“คุณคิดว่าอย่างไรล่ะครับ”
“การคิดเชิงวิพากษ์หมายถึงการมองสิ่งต่าง ๆ จากต่างมุม มีความคิดเห็นที่ต่างกัน และสามารถไม่เห็นด้วยในเรื่องต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล
สาเหตุก็มาจากระบบการศึกษาของเราที่เราพยายามให้เด็กท่องจำคำตอบ”
“การจำเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้องมีความสำคัญในบางเรื่องบางวิชา แต่ทุกวันนี้เราสามารถหาข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างง่ายและรวดเร็ว เพราะฉะนั้นเราควรฝึกทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ให้มากขึ้นเพราะเราต้องการมากกว่า
หนึ่งคำตอบในแต่ละสถานการณ์ เพราะโลกไม่หยุดนิ่ง ทำให้มีปัจจัยและบุคคลต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้การท่องจำไม่สามารถใช้การได้ เพราะแต่ละครั้งคุณจะต้องคิดหาคำตอบที่เหมาะกับสถานการณ์อย่างเฉพาะหน้า”