อยากมีฮีโร่ หรือผู้ใฝ่รู้ เป็นผู้นำ

“คุณเกรียงศักดิ์  ผมชอบบทความเรื่อง ทบทวนภาวะผู้นำ ที่คุณกล่าวถึงภาวะผู้นำกับ 4 ประเด็น ยังมีรายละเอียดอื่นๆอีกใหมครับ”

“คุณโยครับ บทความนั้นผมได้มาจากการศึกษาหนังสือหลายเล่ม”

“คุณอ้างอิงถึง  2 นิยามของคำว่า ภาวะผู้นำ ของ Ronald Heifetz คือ “การโน้มน้าวจูงใจสังคมให้เดินตามวิสัยทัศน์ของผู้นำ”  หรือ “ภาวะผู้นำ คือ การโน้มน้าวจูงใจสังคมให้เผชิญหน้ากับปัญหาของตนเอง”

ในกรณีแรก การโน้มน้าวจูงใจคือสัญลักษณ์ของผู้นำ ผู้นำทำให้ผู้อื่นยอมรับวิสัยทัศน์ของเขา และทำให้สังคมจัดการกับปัญหาโดยมีเขาเป็นผู้นำ ถ้าเกิดมีความผิดพลาด ความรับผิดชอบทุกอย่างก็จะตกอยู่ที่ผู้นำ

ในกรณีที่สอง ความก้าวหน้าในการแก้ปัญหา ถูกใช้ในการวัดระดับของภาวะผู้นำ ผู้นำช่วยกระตุ้นให้สังคมเข้าเผชิญหน้า และจัดการกับปัญหาด้วยตนเองเพราะผู้นำท้าทายและช่วยให้พวกเขาทำ  ถ้าเกิดมีความผิดพลาด ความรับผิดชอบจะตกอยู่ที่ผู้นำและสังคม

โค้ชต้องการจะสื่ออะไรหรือครับ”

“เราให้ชื่อเรียกกับแบบแรกว่า แบบฮีโร่ และแบบที่สองผู้ไผ่รู้นะครับ แต่ละสไตล์นั้นก็มีความเหมาะสมในสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป  ถ้าใช้ไม่เหมาะสมก็ทำให้มีผลลบต่อประสิทธิภาพการทำงานได้

ตัวอย่าง – บริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสแห่งหนึ่ง กำลังอยู่ในระหว่างเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร จึงจ้างบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาช่วย โครงการนี้แบ่งย่อยออกเป็น 5 โครงการย่อย

โครงการย่อยด้านการสื่อสารภายในนั้นมี 2 ทีม โดยมีผู้นำทีมเป็นหัวหน้างานด้านการผลิต คือ เด่น และสุภาพ ทั้งคู่เป็นดาวเด่นที่ประสบความสำเร็จในองค์กร

เด่น และสุภาพ จะนำทีมของตน และทำงานแยกกัน โดยแต่ละทีมมีสมาชิก 6 คนจากหลายสายงานและ หลายระดับ ตั้งแต่ช่างไปถึงผู้จัดการอาวุโส

งานที่ได้รับมอบหมายคือให้คิดหาไอเดียที่แปลกใหม่ สร้างสรรค์ในการสื่อสารเรื่องความเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรครั้งนี้ เพื่อให้พนักงานทุกคนเปิดใจยอมรับให้ได้มากที่สุด

หัวหน้างานด้านการผลิตทั้งสองเคยทำมาคือนำทีมพนักงานผลิต 2 ทีม  ทีมหนึ่งมีพนักงานผลิตทีมละ 30 คน โดยที่ทั้ง 60 คนนั้นอยู่กับองค์กรมานาน มีทั้งประสบการณ์และความสามารถ กระบวนการทำงานก็ไม่ซับซ้อนและตรงไปตรงมา ค่าตอบแทนและสวัสดิการก็ดี

เด่นนำทีมของเขาด้วย สไตล์ฮีโร่  สุภาพนำทีมด้วยสไตล์ผู้ไผ่รู้

ในด้านการทำงาน ทั้งสองทำผลงานได้ดีเยี่ยม  ผลลัพธ์ไม่ต่างกันมากนักแม้สไตล์การจัดการจะต่างกันอย่างสิ้นเชิง

แต่เมื่อทั้งคู่ต้องนำทีมข้ามสายงานที่มีสมาชิก 1 ท่านเป็นพนักงานฝ่ายผลิต และอีก 5  ท่านเป็นคนทำงานใช้ความรู้ ซึ่งบางคนมีตำแหน่งในองค์กรสูงกว่าพวกเขา ในสถานการณ์นี้ สไตล์การบริหาร นั้นทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมาก

เด่นนำทีมของเขาด้วย สไตล์ฮีโร่ ให้ทีมเดินตามวิสัยทัศน์ของเขา ตัวเขาเองก็ไม่แน่ใจว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไรเพราะโครงการนี้ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ และไม่เคยมีใครทำมาก่อน เขาพยายามควบคุมการหารือภายในทีมเช่นเดียวกับที่เขาเคยทำกับพนักงานผลิตทั้ง 30 คน ในบางครั้งสมาชิกของทีมที่เป็นระดับผู้อำนวยการก็ท้าทายความคิดของเขาบ้าง ผลก็คือ ทีมของเขาก็ได้ผลออกมาเป็นไอเดียธรรมดาๆที่เคยมีคนอื่นทำมาก่อนแล้ว

ส่วนสุภาพ นำทีมด้วยสไตล์ ผู้ไผ่รู้ โน้มน้าวให้ทีมของเขารับมือกับความท้าทาย โดยถามคำถามมากมาย รับฟังสมาชิกทุกคน ทำให้พวกเขามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง  ผลก็คือทีมสามารถคิดหาไอเดียใหม่ๆที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนได้ถึงสอง สามอย่างด้วยกัน”

“โค้ชครับ แนวทางนี้สามารถนำไปใช้กับผู้จัดการที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งจากหัวหน้างานด้านการผลิตไปเป็นผู้จัดการอาวุโสแต่ยังคงบริหารทีมคนทำงานใช้ความรู้ด้วยวิธีสั่งการและควบคุมแบบเดิมๆ”

“คุณโยครับ ผมเคยเห็นกรณีเช่นที่คุณพูดมาหลายครั้ง ปกติแล้วพนักงานจะลาออกมากขึ้นถ้าผู้จัดการนำทีมด้วยวิธีสั่งการและควบคุม แทนที่จะให้พวกเขามีส่วนร่วม”

“เราจะเลี่ยงปัญหานี้ได้อย่างไรครับ”

“คุณคิดว่าอย่างไรล่ะครับคุณโย”

“เราต้องโค้ชและทำให้ทีมผู้บริหารมีส่วนร่วมมากขึ้น โดยทำเป็นตัวอย่างก่อน”

“คุณสามารถเริ่มต้นด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับ มีเครื่องมือมากมายที่สามารถช่วยได้คือ แบบสำรวจการมีส่วนร่วมของพนักงาน  เสียงจากพนักงาน การให้ข้อมูลย้อนกลับ 360 องศา หรือแม้กระทั่ง การสัมภาษณ์เมื่อลาออกจากงาน

ส่วนตัวแล้วผมชอบ 9 คำถามต่อไปนี้ครับ

ผู้จัดการควรถามลูกน้องว่า

  1. วิธีมอบหมายงานที่ดีที่สุดต้องทำอย่างไร
  2. วิธีสื่อสารความเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหันที่ดีที่สุดต้องทำอย่างไร
  3. วิธีการสร้างแรงบันดาลใจที่ดีที่สุดต้องทำอย่างไร
  4. วิธีให้ข้อมูลย้อนกลับเมื่อทำงานผิดพลาดที่ดีที่สุดควรทำอย่างไร
  5. จุดแข็งของคุณคืออะไร
  6. งานประเภทใหนที่คุณทำได้ไมดี
  7. วิธีดีที่สุดในการ มอบหมายงานที่ที่คุณทำได้ไมดี ควรทำอย่างไร
  8. วิธีที่ดีที่สุดในการติดตามความก้าวหน้าของงานต้องทำอย่างไร
  9. มีสิ่งอื่นใดที่ผมควรทราบเกี่ยวกับตัวคุณอีกบ้าง”