ภาวะผู้นำ – บทบาทในภาพใหญ่ของผู้นำ

ภาวะผู้นำคือ กิจกรรมที่บุคคลหนึ่งทำเพื่อขับเคลื่อนให้ทีมงานร่วมแรงร่วมใจกันไปสู่วิสัยทัศน์ 

ซึ่งภาวะผู้นำครอบคลุมบทบาทหน้าที่หลักดังต่อไปนี้

1. การกำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และค่านิยมร่วมขององค์กร 

2. การแปลงสิ่งที่กล่าวมาเป็นแผนงาน

3. การขับเคลื่อนแผนงานไปสู่การปฏิบัติ

4. การบริหารการเปลี่ยนแปลง

ในแต่ละเรื่องผู้นำต้องใช้ภาวะผู้นำผ่านทักษะต่าง ๆ เพื่อให้สัมฤทธิผลคือ

1. การกำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และค่านิยมร่วมขององค์กร ผู้นำใช้ การคิด การถาม การเขียน การวิเคราะห์ และการฟัง 

2. การแปลงสิ่งที่กล่าวมาเป็นแผนงาน ผู้นำใช้ การคิด การถาม การเขียน และการพูด 

3. การขับเคลื่อนแผนงานไปสู่การปฏิบัติ ผู้นำใช้ การคิด การถาม การเขียน การพูด การโน้มน้าว   การสร้างแรงบันดาลใจ การจูงใจ และการต่อรอง 

4. การบริหารการเปลี่ยนแปลง ผู้นำใช้ การสังเกต การฟัง การคิด การถาม การพูด การเขียน            การโน้มน้าว การสร้างแรงบันดาลใจ การจูงใจ การเจรจาต่อรอง และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

ใครบ้างที่ต้องใช้ภาวะผู้นำ

Knowledge Worker หรือคนทำงานฐานความรู้ เขาอาจจะมีผู้ใต้บังคับบัญชา ลูกทีม คณะทำงาน      และทีมงาน ที่เขาต้องโน้มน้าวหรือนำทางความคิดเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

Knowledge Worker ควรจะเริ่มฝึกฝนภาวะผู้นำตั้งแต่เราทำงานใหม่ ๆ เพราะว่ายิ่งเราสามารถนำโดยไม่มีตำแหน่งเป็นทางการได้เก่งเท่าไร เมื่อเรามีโอกาสทำงานที่มีคุณค่าสูงมากขึ้น หรือมีตำแหน่งเป็นทางการเติบโตขึ้น เราก็จะมีภาวะผู้นำที่เก่งมากขึ้นตามไปอีก อย่ารอให้ทำงานใหญ่แล้วค่อยมาฝึกภาวะผู้นำ เพราะมันอาจจะช้าเกินไป

หากจะฝึกภาวะผู้นำจะฝึกในเรื่องอะไร 

ให้ฝึกทักษะต่าง ๆ ในตารางคอลัมน์ ด้านขวามือ

และหากจะประเมินภาวะผู้นำของแต่ละคน ควรจะประเมินอย่างไร

ประเมินโดย…

1. บริบทของคนคนนั้นว่าเขามีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไรบ้าง

2. เขาส่งมอบตรงความคาดหวังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไร

3. สิ่งไหนที่เขาทำได้ดี ควรเพิ่ม หรือควรลดบ้าง

4. เขามีความตระหนักรู้ (Self Awareness) ในข้อ 1, 2 และ 3 แต่ละข้อเพียงใด 

หากเขาขาดความตระหนักรู้ ควรมีมีระบบให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการพัฒนา (Feedback System) บอกให้เขาทราบ และควรมีคนช่วยเขาวางแผนพัฒนาภาวะผู้นำ ซึ่งอาจเป็น หัวหน้างาน (Manager), พี่เลี้ยงที่คอยให้คำปรึกษา (Mentor) หรือโค้ช (Coach)

ที่มา: Leadership Mentor – พี่เลี้ยงผู้นำภาคปฏิบัติ โดยเกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย