คนรุ่นใหญ่ที่ทำงานมาระยะหนึ่ง
หลายคนสะสมประสบการณ์และดุลพินิจที่ดี
อีกไม่นานเขาจะจากองค์กรไปพร้อมกับ Tacit Knowledge
หรือความรู้ที่มีคุณค่าที่ฝังอยู่ในสมองของพวกเขา
หากเราไม่ได้ถอดบทเรียนจากพวกเขาก็เป็นความสูญเสียขององค์กร
ลองสังเกตดูว่าแต่ละคนมีดุลพินิจที่ดีในเรื่องใด เช่น
การทำงานกับคนที่อาวุโสกว่า
การสรรหาคนเก่งมาทำงานด้วย
การประสานงานข้ามหน่วยงาน
การจัดการความขัดแย้ง
การสื่อสารการเปลี่ยนแปลง
การบริหารการเมืองในสำนักงาน
การคิดเชิงกลยุทธ์
การมองแนวโน้มในอนาคตทางธุรกิจ
การวิเคราะห์คู่แข่งขัน
การวิเคราะห์ลูกค้า
การเจรจาต่อรอง
การบริหารความเสี่ยง
ฯลฯ
แล้วลองใช้แนวทางเหล่านี้ในการถอดบทเรียนจากพวกเขาดู…
1. ระบุเรื่องที่เราอยากเรียนรู้จากเขาขึ้นมา
2. ขอเวลาเขาเพื่อเรียนรู้
3. ทำการบ้าน ศึกษาเรื่องราวของเขาก่อน
4. เตรียมกรณีศึกษา
5. เตรียมความเห็นของเราหลาย ๆ ฉาก
6. เล่าให้เขาฟังถึงวิธีคิดของเรา
7. ให้เขาลองประเมินวิธีคิดของเรา
8. ถอดระหัสความรู้จากเขา
9. ลองนำไปประยุกต์ใช้
10. กลับมาขอบคุณเขาในสิ่งที่ใช้แล้วเวิร์ค
นอกจากนี้ ยังมีแนวทางคำถามถอดบทเรียนจากคนรุ่นใหญ่ด้วย คือ…
1. คุณพัฒนา “จุดแข็ง” นี้มาอย่างไร
2. ก่อนใช้ “จุดแข็ง” คุณคิด และวางแผนอย่างไร
3. ระหว่างการใช้ “จุดแข็ง” คุณทำอย่างไร
4. หลังจบการใช้ “จุดแข็ง” คุณทำอย่างไร
5. สิ่งที่ควรทำ และ ไม่ควรทำ คืออะไร
6. มีเทคนิคอะไรอีกที่คุณจะแนะนำ
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้
เช่น “จุดแข็ง” ของเขาคือ “การนำเสนอบอร์ด”
แนวทางคำถาม ในการถอดบทเรียนจากเขา คือ…
1. คุณพัฒนา “การนำเสนอบอร์ด” นี้มาอย่างไร
2. ก่อน “การนำเสนอบอร์ด” คุณคิด และวางแผนอย่างไร
3. ระหว่าง “การนำเสนอบอร์ด” คุณทำอย่างไร
4. หลังจากจบ “การนำเสนอบอร์ด” คุณทำอย่างไร
5. สิ่งที่ควรทำ และ ไม่ควรทำ คืออะไร
6. มีเทคนิคอะไรอีกที่คุณจะแนะนำ