1. ทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
2. ใครคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบ้าง เขาคาดหวังอะไร
3. จัดทำแผนงานร่าง “เราต้องทำอะไรให้สำเร็จ”
4. ระบุปัญหาที่อาจเกิด: โอกาสและผลกระทบ
5. หารือแผนกับคนมอบหมายโดยไม่ยึดติดอัตตา
6. เรียนรู้ปัญญา และปรับแผนงานตามที่ได้หารือ
หัวใจสำคัญคือการเรียนรู้ที่จะใช้ “ปัญญา” ของผู้มอบหมายงานเรา เพื่อทำให้เราเก่งขึ้นในเวลาอันสั้น
ในข้อที่ 5. เมื่อเรานำร่างแผนงานแรกไปหารือคนที่มอบหมายงานเรา เขาจะชี้แนะสิ่งที่ควรปรับปรุงให้เราได้พอสมควรเพราะปัญญาของเขาที่อาจจะเกิดมาจาก:
– ประสบการณ์
– การมองภาพใหญ่
– การมีข้อมูลมากกว่า
– ดุลพินิจที่ดีกว่าเรา
– ปัญญาที่มีมากกว่าเรา ฯลฯ
ดังนั้นเราจะพัฒนาดุลพินิจและปัญญาของเราขึ้นมากเลยหลังจากหารือกับเขา
อย่างไรก็ตาม เราจะทำเช่นนี้ได้ ต้องระวังอย่าให้อัตตาเรามาสกัดโอกาสพัฒนาปัญญาของเรา
อัตตาที่ควรระวังเช่น
– เราเก่งพอจะคิดเองได้
– คนนี้อายุเยอะอนุรักษ์นิยม
– เขาดุจังมีแต่จี้จุดอ่อนเรา
– ไม่ชอบสไตล์การทำงาน ฯลฯ
คนที่จะเก่งคือคนที่เรียนรู้ปัญญาจากคนที่เก่งกว่าด้วยระดับอัตตาที่เหมาะสม