TMI – Too Much Information คือ การพูดให้ข้อมูลท่วมท้นจนเกินความจำเป็น
เป็นการพูดให้ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม เวิ่นเว้อไม่เข้ากับสถานการณ์
คนไทยจำนวนมากมีแนวโน้มจะเป็นแบบนี้
เพราะว่าเราไม่ได้ฝึกคนของเราให้มี Critical Thinking ดีพอ
เราจะเห็นนักวิชาการที่นำเสนอด้วยข้อมูลท่วมท้น
ผู้บริหารที่นำเสนอแล้วบอร์ดส่ายหน้า
ผู้เชี่ยวชาญที่ Lecture C-Level เพราะกลัวเขาไม่เข้าใจ
ในอดีตเมื่อเศรษฐกิจดี Knowledge Workers หลายคนมีอาการแบบนี้
แต่ว่าหัวหน้ามักอลุ่มอล่วยไม่ตัดบท ทนฟังจนจบ
แต่ว่าตอนนี้เป็นภาวะไม่ปกติ ทำให้ทุกอย่างกลายเป็นเรื่องเร่งด่วน
และเวลามีความหมายมากกว่าเดิม
ดังนั้นผู้บริหารอาจจะอดทนน้อยลงกับคนที่ยัง TMI โดยไม่รู้ตัว
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรา TMI
ก. สีหน้าท่าทางผู้ฟัง เริ่มเหนื่อยหน่าย
ข. พูดไปแล้วตั้งแต่ต้น เขาก็ยังกลับมาถาม
ค. เขาบอก “คุณช่วยเข้าประเด็นเลยนะ”
ง. เขาถาม “คุณกำลังต้องการสื่อสารอะไร”
จ. เขาขอ “ช่วยพูดสั้น ๆ นะเวลามีน้อย”
เราควรพูดอย่างไร เพื่อหลีกเลี่ยง TMI
1. เตรียมและปรับการพูดให้เหมาะจริตของผู้ฟัง
2. ตรวจสอบว่าเขามีเวลาฟังเราเท่าไร
3. ประเมินว่าประโยชน์ที่เขาจะได้คืออะไร
4. เตรียมตัวก่อนพูดโดยเลือกสรรคำพูด
5. พูดกระชับตรงประเด็น หากไม่ครบเขาถามเอง
6. ประเมินตัวเองทุกครั้งที่พูดจบ เพื่อการพัฒนา
หากคนไหนที่มีลักษณะ TMI บ่อย ๆ หัวหน้าจำเป็นต้องให้ Feedback เขาตรงไปตรงมา
บอกถึงผลเสียว่าทำให้คนไม่เข้าใจแล้ว ยังทำให้เขาลดโอกาสเติบโตด้วย
เพราะว่าคนที่จะเติบโตและก้าวหน้าต้องพูดให้เข้าใจได้ง่ายในเวลาอันสั้นครับ