คนจำนวนมากพยายามศึกษาเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว โดยมองข้ามการ “รู้จักตัวเอง”
วิธีรู้จักตัวเองมากขึ้น มีดังนี้
1. ทบทวนชีวิตตัวเองในแต่ละช่วงวัย หาเวลาว่าง ๆ นั่งลงแล้วทบทวนตัวเองว่า ในชีวิตที่ผ่านมาแต่ละช่วงเวลาเป็นอย่างไร (เด็ก วัยรุ่น เรียนมหาวิทยาลัย การทำงานครั้งแรก การทำงานมาระยะหนึ่ง และการทำงานมานานแล้ว) มีแบบแผนอย่างไรบ้างในแต่ละช่วงชีวิต
– สิ่งที่เราชอบ
– สิ่งที่เราทำได้ดี
– สิ่งที่คนอื่นชมเราบ่อย ๆ
– สิ่งที่คนอื่นเข้าใจผิดเกี่ยวกับเราบ่อย ๆ
– เรามักเผชิญแบบแผน (ปัญหา โอกาส ที่เกิดซ้ำ หรือคนที่ต้องพบบ่อย) อะไรในชีวิต
– คนรอบตัวมักเตือนอะไรเราบ่อย ๆ
2. ลองสังเกตตัวเองสักระยะหนึ่ง
– อะไรคือหลักการในชีวิตของเรา
– เราให้คุณค่ากับอะไร
– เราตัดสินตัวเองจากอะไร
– เรื่องไหนที่เราไม่ประนีประนอม
– คำขวัญประจำตัวเราคืออะไร
3. ทำแบบสอบถามจิตวิทยา[ดูหมายเหตุประกอบ 11]
– เช่น Gallup CliftonStrengths, MBTI, DISC ฯลฯ
– ลองทำอย่างน้อย 2-3 แบบ
– แล้วลองมองหาแบบแผนจากผลลัพธ์ “อะไรคือศักยภาพ ความถนัด จุดแข็ง จุดอ่อน และข้อควรระวัง”
4. เรียนรู้จากคนต้นแบบ
– ใครคือคนที่เรานึกถึงในครอบครัวเมื่อต้องเผชิญกับความท้าทาย
– ใครคือครู อาจารย์ ที่ปรึกษา โค้ช หรือครูแนะแนว ที่เรานึกถึงเมื่อคิดหาทางออกไม่ได้
– ใครคือคนต้นแบบทางจริยธรรม
– ใครคือคนต้นแบบความสำเร็จในชีวิต
– ใครคือคนที่เรามองเห็นตัวเราในตัวเขา
– ใครที่เราอยากเป็นเหมือนเขาในอนาคตไกล ๆ
– เขาคิดและทำอย่างไรในแต่ละบริบทที่ท้าทาย
5. หารือกัลยาณมิตร
– หัวหน้า พี่เลี้ยง โค้ช เพื่อน รุ่นพี่ ใครที่เมตตาเรา หรือใครที่เราให้บริการเขาบ่อย ๆ
6. นำชุดข้อมูลที่รวบรวมมาประมวลผล
– แบบแผนที่เห็นคืออะไร
– ความเชื่อมโยงที่เห็นคืออะไร
– แนวโน้มที่เกิดคืออะไร
– บทสรุปของเราคืออะไร
สุดท้าย เราต้องพึงตระหนักว่า “การค้นหาตัวเองเป็นการเดินทาง ไม่ใช่เป้าหมาย” เราจะค่อย ๆ ค้นพบตัวเอง ซึ่งแต่ละคนมีความชัดเจนในช่วงอายุไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ชีวิต บริบท ครอบครัว และจริตของแต่ละคน บางคนมีอายุน้อยแต่ก็พบความชัดเจนในตัวเองมาก หลายคนชัดเจนขึ้นหลังจากอายุ 40 ปี และหลายคนชัดเจนขึ้นหลังจากอายุ 60 ปี ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แล้วแต่บริบทแวดล้อมของแต่ละคน
การค้นหาตัวเองเปรียบเสมือนการเดินทางไกล ที่จะค่อย ๆ มีความชัดเจนในตัวเอง
ที่มา: Leadership Mentor – พี่เลี้ยงผู้นำภาคปฏิบัติ โดยเกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย