บทเรียนการบริหารและภาวะผู้นำจากเหมืองถล่ม

วันที่ 5 สิงหาคม 2553 เหมืองทองแดง-ทองใกล้เมืองคาปิอาโป ประเทศชิลีถล่มทำให้คนงาน 33 คนติดอยู่ใต้ดินลึก 700 เมตร 69 วันให้หลังพวกเขาได้รับการช่วยเหลือ ปฏิบัติการครั้งนี้ให้บทเรียนหลายเรื่อง

  1. เริ่มต้นจากจุดสุดท้าย – รัฐบาลชิลีมีเพียงเป้าหมายเดียวคือ ช่วยคนงานทั้ง 33 คน พวกเขาทำทุกทางเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ สุดท้ายก็สำเร็จ
  2. ไม่กลัวเสียหน้า – รัฐบาลชิลีร้องหาความสนับสนุนจากทั่วโลก ขอความช่วยเหลือจากบริษัทวิศวกรรมชั้นแนวหน้าทั่วโลกเพื่อใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในการช่วยเหลือคนงาน จากทีมกู้ชีพทั้งหมด มีชาวไทยสองท่าน คือ วชิรพงศ์ นาสารีย์ และสมพงษ์ พงกันยา ถูกคัดเลือกจากบริษัทสัญชาติแคนนาเดียน Metalogic Inspection Services ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมมีสาขาในแปดประเทศทั่วโลก กล่าวโดย สตีเฟน ฟรานซิส ผู้บริหารภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  3. ร่วมมือร่วมใจ – การช่วยเหลือชาวชิลีเป็นปฏิบัติการข้ามชาติและสายงานโดยมีผู้สนับสนุนจากหลายบริษัท หลายองค์กรรอบโลก และสำนักข่าวต่างๆก็กระตือรือร้นที่จะนำเสนอเรื่องนี้
  4. มีแผนบี – ท่อกระสวยที่ใช้ในการกู้ชีพนั้นเป็นชุดที่สองจากทั้งหมดสามชุด ประกอบกับการใช้สว่านลมที่เหมาะสมกับสภาพหินในบริเวณนั้น การช่วยเหลือโดยใช้ท่อกระสวยนี้เป็นเรื่องใหม่ทำให้ปฏิบัติการกู้ชีพนี้เป็นเหมือนการทดลองครั้งใหญ่ การทดลองหลายแนวทางนั้นเพิ่มโอกาสความสำเร็จ อาจเป็นเรื่องยากขึ้นถ้าต้องทำในเหตุการณ์ที่ไม่มีชิวิตที่ต้องเสี่ยง และงบประมาณจำกัด นี่เพียงต้องการให้จำว่าหนทางแห่งความสำเร็จนั้นมีมากกว่าหนึ่ง และวิธีแรกที่คุณคิดได้อาจไม่ประสบความสำเร็จ
  5. ภาวะผู้นำ – สมาชิกสำคัญ 4 คนจาก 33 คน คือ นายหลุย อัวร์ซัว อายุ 54 ปีหัวหน้าคนงาน ตระหนักถึงความลำบากของการกู้ชีพ ให้คนงานมาประชุมกันที่ห้อง “ลี้ภัย” เพื่อจัดระเบียบคนและทรัพยากร แล้วจึงนำทีมคนงานสามคนสำรวจอุโมงค์เพื่อยืนยันสถานการณ์ เพื่อเขียนแผนที่อย่างละเอียด และเป็นผู้นำประสานงานกับทีมกู้ชีพ โยนนี่ บาริโอส อายุ 50 ปี ทำหน้าที่พยาบาล ดูแลสุขภาพ ฉีดวัคซีน และรายงานสู่ทีมกู้ชีพ มาริโอ โกเมส อายุ 63 ปี เป็นผู้นำศาสนา จัดโบสถ์และแท่นบูชาที่มีรูปปั้นของนักบุญ และประสานงานกับนักจิตวิทยา มาริโอ เซปูเวดา อายุ 40 ปี รับบทเป็นพิธีกรของบันทึกวิดีโอชาวเหมืองที่ส่งขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนทราบว่าพวกเขายังสบายดี สื่อมวลชนท้องที่เรียกเขาว่า “ซุปเปอร์มาริโอ” ตามวิดีโอเกมส์ซุปเปอร์มาริโอเนื่องจากเป็นคนที่เปี่ยมล้นไปด้วยพลังงาน ใหวพริบและอารมณ์ขัน

    หัวหน้าคนงานคือฮีโร่ตัวจริง นี่คือพฤติกรรมที่แสดงภาวะผู้นำของเขา

a. นำด้วยความห่วงใย – คำถามแรกที่ นายอัวร์ซัว ถามทีมกู้ชีพเมื่อสามารถติดต่อกันได้คือ “ชาวเหมืองคนอื่น ๆ ที่ทำงานในขณะเหมืองถล่มเป็นอย่างไรกันบ้าง” เป็นคำถามที่ธรรมดาแต่เข้าถึงอารมณ์ กลุ่มคนที่ตกอยู่ในสถานการณ์แบบนั้นยังสามารถห่วงผู้อื่นได้ ต่อจากนี้ อะไร ๆ ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น

b. สร้างความเชื่อถือจากชื่อเสียง – นายอัวร์ซัว เป็นที่รู้จักกันในฐานะหัวหน้าที่ปกป้องและห่วงใยลูกน้อง จากปากคำของอดีตลูกน้องชื่อ โรบินสัน มาเควส หนังสือพิมพ์ Brittan’s Mirror ลงคำพูดของมาเควส ว่า “เขาปกป้องและรักลูกน้องอย่างมาก” ชื่อเสียงนี้สำคัญมากเมื่อต้องโน้มน้าวใจให้คนงานที่กำลังหิว 32 คนยอมแบ่งอาหารสำหรับสองวันให้กินได้ถึง 17 วันก่อนทีมกู้ชีพจะพบพวกเขา พวกเขาได้กินเพียงปลาทูน่าหนึ่งช้อนชากับนมครึ่งแก้วทุก ๆ 48 ชั่วโมงเท่านั้น

c. คุณค่าของประสบการณ์ – นายอัวร์ซัวเคยเป็นผู้รอดชีวิตจากเหมืองถล่มมาก่อน เขามีประสบการณ์ และเรียนรู้จากมัน

d. วินัย – คนมีวินัยในสถานการณ์สิ้นหวังแบบที่การรอดชีวิตคือความสำคัญลำดับแรกนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ แต่เมื่อคุณได้ทำตามสิ่งที่ต้องทำที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ทุกอย่างก็จะง่ายขึ้น

e. นำด้วยการหนุน – ด้วยความผูกพันที่มีพวกเขามีต่อกัน หลังจากคนงานทั้ง 32 คนขึ้นมาแล้ว ก็ขอทีมกู้ชีพว่าต้องการรอจนกว่าคนสุดท้ายจะขึ้นมา ไม่น่าแปลกใจเลยว่า นายอัวร์ซัว หัวหน้าคนงานนี่เองที่ขึ้นเป็นคนสุดท้าย