เติบโตด้วยประสบการณ์

บทความเรื่อง “Eighty-eight Assignments for Development in Place” เขียนโดย Michael M. Lombardo และ Robert W. Eichinger จาก The Center for Creative Leadership พวกเขาพบว่าการเรียนรู้ผ่านการทำงานจริงนั้นเป็นวิธีการพัฒนาที่ดีที่สุด บ่อยครั้งที่เราได้รับการเลื่อนตำแหน่งเพื่อที่จะมีโอกาสได้รับประสบการณ์ใหม่ๆในการพัฒนาตนเอง แล้วถ้าการเลื่อนตำแหน่งกลับไม่ทำให้เกิดการเรียนรู้ล่ะ รายงานชิ้นนี้ประกอบไปด้วย งานโครงการ 88 งานที่ทำให้แต่ละบุคคลมีโอกาสพัฒนาตนเองได้แม้ทำงานในตำแหน่งเดิม

คุณสามารถสร้างงานโครงการเพื่อจุดประสงค์ของการพัฒนาบุคลากรโดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนโยกย้ายงานที่ทำอยู่

ผู้อ่านสามารถจับคู่ความต้องการในการพัฒนาของลูกน้องแต่ละคนในเรื่องที่พวกเขาต้องการพัฒนามากที่สุด

5 ประเภทของประสบการณ์ที่ผู้บริหารมองว่าคู่ควรได้รับการพัฒนา

  1. งานที่มีความท้าทาย – เรื่องเหล่านี้สอนเกี่ยบกับความละเอียดอ่อนของภาวะผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเริ่มกิจการ แก้ปัญหางานเชิงปฏิบัติการ ขยายองค์กร ทำงานระบบที่มีข้อจำกัดด้านเวลา งานเหล่านี้เป็นตัวแทนของสิ่งที่ผู้นำต้องทำ ทำให้ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแรงกดดัน ความสามารถในการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว รับมือลูกน้องที่สร้างปัญหา  ประเด็นหลักก็คือ งานที่มีความท้าทายนั้นเป็นครูที่ดีที่สุด เป็นประสบการณ์ที่ได้รับการจดจำมากที่สุดในบรรดาการบวนการพัฒนาทั้งหมด เพราะมีความหลากหลายของบทเรียนที่มีความสำคัญต่างๆ
  2. เรียนรู้จากผู้อื่น โดยเฉพาะเจ้านาย เพราะเปรียบเสมือนต้นแบบของค่านิยมในการทำงาน คนที่มีความโดดเด่นมักสะดุดตาผู้บริหาร ไม่ว่าจะโดยการนำเสนอสิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ ควรเป็น หรือไม่ควรเป็นก็ตาม หรืออาจเป็นต้นแบบของความซื่อสัตย์ ความเฉียบแหลม ความมีจริยธรรม หรือความเห็นแก่ได้  ผู้บังคับบัญชาสามารถที่จะขยายความให้ทราบได้ว่าค่านิยมต่างๆนั้นจะถูกนำมาใช้ในการบริหารงานได้อย่างไร
  3. การทำงานในถิ่นกันดาร/งานที่มีปัญหา  เป็นประสบการณ์ที่ดีทำให้เราเรียนรู้ว่า ข้อจำกัดของเรา  เรื่องราวต่างๆของผู้จัดการที่ทำผิดพลาด ติดอยู่ในงานที่ไม่มีอนาคต ต้องไล่ลูกน้องออก หรือผ่านความบอบช้ำในด้านต่างๆมานั้น มักมีโอกาสที่จะมองเข้าไปภายในใจของตนเอง สะท้อนความเป็นตนเอง  มีความยืดหยุ่นในการปรับตัว และเห็นข้อบกพร่องของตน
  4. งานโครงการ เพราะสามารถใช้เป็นตัวเปรียบเทียบที่ดี ให้โอกาสในการสร้างความมั่นใจโดยเปรียบเทียบความสามารถของตนกับผู้จัดการท่านอื่นๆในองค์กร ผู้บริหารมักกล่าวถึงงานโครงการว่าเป็นพื้นที่ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเทคนิค สรรหาแนวทางในการแก้ปัญหา และเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น
  5. ประสบการณ์นอกองค์กร โดยมากเกี่ยวกับการทำงานช่วยเหลือสังคม ประสบการณ์เหล่านี้ช่วยปูพื้นให้รู้จักการโน้มน้าวจิตใจผู้อื่น

ไม่ใช่ทุกๆประสบการณ์ที่ถูกมองว่าช่วยในการพัฒนาตนเอง การเปลี่ยนลักษณะของงานโดยใช้คนกลุ่มเดิม หรือทำงานด้วยกระบวนการซ้ำๆ หรือกำหนดการไม่ชัดเจนนั้นมักไม่ได้รับการพูดถึง

ต่อไปนี้เป็นความท้าทาย 11 ข้อที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดจากผู้เขียนว่าสามารถช่วยพัฒนาความสามารถ ในปัจจุบันนี้  การเรียนรู้ที่ควรค่าควรจะมีอย่างน้อย 5 ใน 11 ข้อนี้

11 ข้อของความท้าทายเพื่อการพัฒนา

  1. ความสำเร็จและความล้มเหลวนั้นเป็นไปได้ทั้งสองทาง และผู้อื่นสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
  2. เราต้องกล้าใช้ภาวะผู้นำเพื่อทำให้งานนั้นเกิด
  3. ทำงานร่วมกับทีมงานใหม่ๆ จำนวนมาก
  4. เป็นงานที่สร้างแรงกดดันให้กับตัวเองอย่างมาก
  5. สามารถโน้มน้าวใจผู้อื่น กิจกรรม หรือปัจจัยต่างๆโดยที่ตนไม่มีอำนาจสั่งการ
  6. มีความหลากหลาย และยืดหยุ่นสูง
  7. ได้รับการจับตามองจากบุคคลที่มีความสำคัญและความคิดเห็นเป็นที่ยอมรับ
  8. สร้างทีม สร้างทุกอย่างจากศูนย์ จัดการแก้ไข หรือปรับเปลี่ยนทีม/งานที่กำลังมีปัญหา
  9. ความสามารถด้านกลยุทธ์ และการท้าทายความคิด
  10. การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยเฉพาะกับเจ้านายที่ดี และไม่ดี
  11. เป็นงานที่ทรัพยากรสำคัญนั้นขาดหายไป

การศึกษาแสดงว่า 88 งานโครงการนั้นมีตารางเพื่อระบุว่าแง่มุมต่างๆในการพัฒนาของแต่ละงานโครงการนั้นคืออะไรบ้าง

  • การรับมือกับวิกฤตทางธุรกิจ – ได้รับการระบุโดย 10 จาก 11 ความท้าทาย
  • ทำงานโครงการที่ “ทำได้ยาก” (คนสุดท้ายที่ทำโครงการนี้ล้มเหลว) – ได้รับการระบุโดย 10 จาก 11 ความท้าทาย

9 งานโครงการต่อไปนี้ได้รับการระบุโดย 8 จาก 11 ความท้าทาย

  • ออกนอกสถานที่เพื่อแก้ปัญหา (รับมือลูกค้าที่ไม่พึงพอใจ)
  • มีส่วนร่วมแม้กับเรื่องเล็กๆ (เช่น การคัดสรรเลขาฯส่วนกลาง)
  • บริหารทีมงานธุรกิจที่มีปัญหา
  • บริหารทีมงานที่ขาดประสบการณ์
  • บริหารทีมงานที่มีความสามารถในการทำงานไม่ได้มาตราฐาน
  • บริหารทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญสูงมากกว่าเรา
  • บริหารทีมงานที่ปฏิบัติงานประจำที่ซ้ำซากน่าเบื่อ
  • บริหารทีมงานที่ขยายและเติบโตอย่างรวดเร็ว
  • ดูแลการตัดงบประมาณ

แล้วงานโครงการใดเหมาะกับคนไหน? พอจะมีทฤษฏีมารองรับ

ทฤษฏีแรก เมื่อมีข้อมูลเหล่านี้ ผู้จัดการจำนวนมากสมัครใจที่จะเพิ่มความท้าทายที่ต้องการพัฒนาลงไปในงานปัจจุบันที่ทำอยู่

ทฤษฏีที่สอง กลวิธีทั่วไปสามารถทำได้หลังจากผู้จัดการมืออาชีพมีโอกาสทำงานโครงการสักสอง สามงานแล้ว

ทฤษฏีที่สาม งานที่ได้รับมอบหมายนั้นเกิดมาจากงานปกติที่ทำแล้วสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาตนเองได้

ทฤษฏีที่สี่ กลวิธีนั้นมุ่งความสนใจในการพัฒนาไปที่เรื่องที่มีความจำเพาะเจาะจงไล่ไปทีละงานสำหรับแต่ละเรื่อง

จากนี้ไป คุณสามารถเติบโตได้จากประสบการณ์ ถ้าคุณบริหารประสบการณ์เหล่านั้นอย่างเหมาะสม