ถามถ้าคุณอยากได้

“คุณเกรียงศักดิ์ เราคุยกันเรื่องการเตรียมตัวคนไทยเพื่อเข้าสู่ AEC มาแล้วสองสัปดาห์ มีเรื่องอะไรอีกบ้างที่คนไทยสามารถปรับปรุงได้อีก”

“การถามครับ คุณสวัสดิ์”

“นี่เป็นจุดอ่อนของคนไทยเลยครับ จากประสบการณ์ ตอนเป็นเด็ก พ่อแม่สอนผมว่า ต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ เพราะผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อน

ที่โรงเรียน ผมก็ต้องจำคำสอนของครู ถ้าถามมากก็ถูกหาว่าเป็นตัวกวน บอกให้ผมหยุดถาม แต่สิ่งที่ทำให้ผมผิดหวังมากก็คือเพื่อนๆ พวกเขาบ่นว่าผมเข้าใจอะไรยาก

พอเริ่มทำงาน ผมก็ถามคำถามเจ้านายมากมาย เขาไม่ชอบเพราะเขาอยากให้ผมทำตามที่สั่งอย่างเดียว ผมลองถามเพื่อนร่วมงาน ปรากฏว่าพวกเขาก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน แต่ไม่ต้องการถามเพราะเจ้านายอาจมองว่าเขาไม่ฉลาด”

“แล้วคุณจะทำอย่างไรเพื่อให้คนไทยถามคำถามดีๆมากขึ้นได้ครับ”

“ผมขอแชร์ตัวอย่างเกี่ยวกับการถามคำถามที่น่าจะช่วยให้แรงบันดาลใจครับ

จิม คอลลิน ผู้เขียน Good to Great พูดในหนังสือเล่มใหม่ How the Mighty Fall เกี่ยวกับการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ  จิมอ้างอิงถึงคำพูดของหนึ่งในพี่เลี้ยงของเขา บิล ลาซิเออร์ ว่า อย่าพยายามหาคำตอบ แต่ให้มุ่งความสนใจไปที่การถามคำถามที่ถูกต้อง

จากหนังสือ Leading with questions โดยไมเคิล มาร์ควอท อ้างถึงคำพูดของ โดนัล ปีเตอร์สัน อดีตซีอีโอของ ฟอร์ด มอร์เตอร์ ว่า การถามคำถามที่ถูกต้องช่วยลดความต้องการคำตอบทั้งหมดได้

มร. มาร์ควอท เองก็อ้างถึงคำพูดของปีเตอร์ ดรักเกอร์ กูรูด้านความเป็นผู้นำว่า ผู้นำในยุคก่อนอาจสามารถเป็นผู้นำที่รู้ว่าคำตอบคืออะไร แต่ผู้นำในอนาคตจะต้องรู้จักถามเพื่อให้คนค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ด้วยความที่โลกหมุนเร็วขึ้นและมีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้รูปแบบของความเป็นผู้นำที่ใช้ได้ผลในอดีต ใช้ไม่ได้กับวันนี้”

“เรื่องที่เล่ามาดีมากเลยครับคุณสวัสดิ์”

“โค้ช คุณมีเรื่องเล่าที่เป็นตัวอย่างของนักธุรกิจชาวไทยบ้างมั๊ยครับ”

“มีสองเรื่องครับ เรื่องแรกเป็นเรื่องของคุณธนินท์ เจียรวนนท์ ซีอีโอ ของ ซีพีกรุ๊ป จากหนังสือภาษาไทยชื่อ คมความคิดเจ้าสัว เขียนโดย ต้นสกุล สุ่ย ผู้เขียนอ้างถึงคำพูดของคุณธนินท์เกี่ยวกับความสำเร็จว่า

ทุกครั้งที่ผมเดินทางไปต่างประเทศ ผมจะไปพบคนที่ฉลาดๆ ผมต้องการเรียนรู้จากพวกเขาโดยการถาม จากนั้นก็ฟังสิ่งที่พวกเขาพูดอย่างตั้งใจ ไม่ว่าพวกเขาจะอายุเท่าไหร่ ก็สามารถเป็นครูของผมได้ ผมให้เกียรติคนฉลาด ผมชอบและอยากเป็นเพื่อนกับพวกเขา

อีกหนึ่งท่านคือ คุณตัน ภาสกรนที ซีอีโอ ของ บริษัท ไม่ตัน คุณตันเป็นผู้ก่อตั้ง ชาเขียว โออิชิ ที่ขายกิจการต่อให้ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด ในภายหลัง

จากหนังสือภาษาไทยชื่อ ชีวิตนี้ไม่มีทางตัน เขียนโดย สรกล อดุลยสนนท์ คุณตันเล่าเรื่องการลงทุนที่ประสบความสำเร็จจากการถามคำถามเอาใว้

ขณะที่คุณตันอายุ 21 ปี เขาเป็นลูกจ้างชั้นยอดอยู่ได้ 4 ปี จากนั้นเริ่มทำกิจการแผงขายหนังสือพิมพ์ของตนเองที่ชลบุรี โดที่ไม่มีความรู้ด้านนี้มาก่อน เขาใช้วิธีถามจากตัวแทนขายหนังสือพิมพ์

เวลาจะเริ่มทำธุรกิจใหม่ที่ผมไม่มีประสบการณ์มาก่อน ผมจะใช้วิธีการถามผู้อื่น ผมได้ความรู้และกลยุทธ์มาจากผู้อื่นที่ยินดีจะแชร์ความรู้ ประสบการณ์ของพวกเขาทำให้ระยะเวลาการเรียนรู้ของผมสั้นลงอย่างมาก

ตอนที่เขาก่อตั้งโออิชิ  วันหนึ่ง ระหว่างที่เขานั่งในรถที่เพิ่งติดฟิล์มมาใหม่  กลิ่นของฟิล์มทำให้เขารู้สึกป่วย หายใจไม่ออก เข้าใจผิดไปว่าตนกำลังจะตาย จึงบอกให้คนขับรถพาไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ระหว่างทางไปโรงพยาบาล เขาเปิดกระจกรถลงเพื่อหายใจเอาอากาศบริสุทธิ์ ทันทีทันใดเขาก็รู้สึกดีขึ้น ก่อนที่เขาจะรู้สึกดีขึ้น เขาก็ตระหนักว่ายังมีอีกหลายสิ่งเหลือเกินที่เขายังไม่ได้ทำ

ด้วยแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ครั้งนี้ เขาบอกให้ผู้จัดการร้านของเขาทุกสาขาทำยอดของ โออิชิ กรีนที เป็นสองเท่าของที่ปกติทำอยู่โดยใช้การถามคำถาม  ถ้าสมมติว่าคุณจะตายแต่ไม่ได้ตายจริง คุณจะทำอะไรที่แตกต่างออกไปเพื่อเพิ่มยอดขายของ โออิชิ กรีนที

ทุกสาขาสามารถทำได้ตามยอดที่ตั้งใว้

คุณตันประหลาดใจมากที่สาขาเซ็นทรัล ลาดพร้าวที่ปกติทำยอดได้สูงกว่าสาขาอื่นๆอยู่แล้วก็ยังสามารถทำยอดเป็นสองเท่าได้ เขาถามผู้จัดการสาขาว่าเธอทำอย่างไร เธอบอกคุณตันว่าเธอออกไปขายตรงกับแผงขายน้ำจำนวนมากในตลาดนัดจตุจักร เขาจึงออกไปดูที่จตุจักรด้วยตนเองแล้วบอกให้พี่ชายของเขาขยายจุดขายให้เต็มที่ ปรากฎว่าพี่ชายเขาสามารถเพิ่มยอดขายในจตุจักรต่อเดือนจาก 80,000 ขวดเป็น 280,00 ขวด แค่นั้นยังไม่พอ  คุณตันก็นำวิธีการขายแบบนี้  ไปขายผลต่อที่ตลาดนัดใน ชลบุรี บางแสน และระยอง  อีกด้วย”

“โค้ช  ตัวอย่างเหล่านี้ดีมากๆเลยครับ เป็นตัวอย่างของการ ถามแล้วรวย”